วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เนื้อกังใส เป็นพระที่ใช้เนื้อดินจากเมือง "อันฮุย" เป็นเนื้อพื้นผสมกับมวลหลักต่างๆของท่าน ดินจากเมือง "อันฮุย" เป็นดินที่สั่งนำเข้าจากจีนเพื่อทำชามเบญจรงค์ เนื้อพระจึงดูผิวละเอียดเนียนและแกร่งถือเป็นเนื้อพิเศษไม่ใช่เนื้อหลัก พูดถึงดินที่เป็นผงผสมพระของท่านสมเด็จโต หลวงปู่คำบันทึกไว้ ๗ อย่างมี ๑. ดินเจ็ดโป่ง ๒. ดินตีนท่าเจ็ดท่า ๓. ดินเจ็ดสระ ๔. ดินกลางใจเมืองเจ็ดเมือง ๕. ดินขี้ไคลเสมา ดินขี้ไคลเจดีย์ ๖. ดินสอขาวหรือดินขาว สำหรับเขียนยันต์ตามสูตรพระเวทย์ ๗. ดินกระแจะปรุงด้วยของหอม ดินเหล่านี้จะถูกบดเป็นผงไว้ผสมพระ แต่จะให้บอกว่าชิ้นส่วนตรงไหนคือดินอะไรคงตอบยาก แม้นจะใช้กล้องขยายกำลังสูงก็ตาม ไม่เหมือนมวลสารอื่นที่ไม่ละลายตัว เช่นเม็ดคราม อิฐแดง ก้านธูป เกสรบัว หรือเม็ดกล้วยเป็นต้น.






 

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พระองค์นี้อยู่ในกลุ่มเนื้อหนึกเหนียวเนื้อพระค่อนข้างละเอียดมีส่วนผสมของข้าวสุกมาก ข้าวสุกที่นำมาสร้างพระสมเด็จนั้นมีสองแบบคือ ๑ นำข้าวสุกไปตากแดดก่อนแล้วนำมาตำให้ละเอียดก่อนนำมาผสมมวลสารต่างๆ เนื้อพระประเภทนี้เมื่อใช้แว่นขยายส่องดูจะพบไตข้าวเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายข้าวสารหักอยู่ในเนื้อพระ ส่วนแบบที่สอง ๒ คือนำข้าวสวยมาตำเลย ตำจนเหนียวแล้วนำมาผสมมวลสารต่างๆ เนื้อพระประเภทนี้จะดูหนึกเหนียวเช่นพระองค์นี้ ส่วนพื้นผนังพระองค์นี้จะมีการแตกลายแผ่วๆกระจายอยู่บ้าง และมีคราบสนิมตังอิ๊วให้เห็นตามซอกพองาม พระอยู่ในสภาพสมบูรณ์






 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พิเศษ เป็นพระยุคต้นที่ท่านสมเด็จโตสร้างขึ้นที่วัดระฆัง







 

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์อกกระบอก โบราณเรียกพระ พิมพ์ชายจีวรเส้นลวด เหตุเพราะตรงข้อศอกด้านซ้ายมือองค์พระมีเส้นชายจีวรติดอยู่เป็นเส้นนูน คล้ายเส้นลวดจึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์.





 

พระกรุวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) กทม. พิมพ์กลีบบัว ฐานผ้าทิพย์ ตำราว่า สร้างในสมัยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) พุทธศิลปเป็นแบบอยุธยา แตกกรุจากเจดีย์ในบริเวณวัดอยู่หลายครั้ง แตกกรุครั้งแรกไม่ได้ระบุปี พ.ศ. แตกกรุครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ และ ป๊ พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๔๘๓ รวมพระที่เจอทั้งหมด ห้าหมื่นกว่าองค์ เนื้อพระเป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก เหมือนพระสมเด็จวัดระฆัง แต่ไม่มีมวลสารในเนื้อพระ หรือมีน้อยมาก ต่างจากพระวัดระฆังของท่านสมเด็จโต ผิวพระคล้ายถั่วลิสงคั่ว เนื้อพระแตกลายงาสวยงาม เรื่องพุทธคุณเด่นมากด้านคงกระพัน ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเจอในท้องตลาดแลกเปลี่ยนแล้ว.










 

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันนี้วันที่ 17 เมษายน 2567 ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่านสมเด็จโต จึงขอนำพระหล่อเนื้อสัมฤทธิ์รูปเหมือนของท่านสมเด็จโต มาให้ชม มีหน้าตัก 5 นิ้วใต้ฐานฝังพระสมเด็จไว้ 5 องค์ พระองค์์นี้เป็นพระเก่าแต่ไม่ทราบว่าจะทันท่านสมเด็จโตหรือไม่ ที่สังฆาฏิขององค์พระมีรอยจารเต็มตั้งแต่ด้านหน้าจรดด้านหลัง.


 







วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567