วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระกริ่งปวเรศ ปีพ.ศ.๒๔๓๔

แบบจีวรไม่ตอกลาย

แบบจีวรตอกลายจุด




พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์นี้เป็นพระเนื้อหนึกแกร่ง มีส่วนผสมของปูนสุกมากพอสมควร ทำให้เนื้อดูแกร่งตามผนังพื้นทั้งหน้าหลังมีคราบน้ำปูนสีขาวเกาะอยู่ พระองค์นี้เป็นพระที่สมบูรณ์มากแทบจะไม่ได้ผ่านการใช้มาเลย
ผิวเยื้อหอมยังอยู่ ผิวเยื้อหอมนั้นมีลักษณะเหมือนฟิล์มบางๆมีความมันฉาบอยู่บนผิวพระอีกชั้นหนึ่ง แต่เมื่อพระนั้นผ่านการใช้หรือถูกสัมผัสผิวเยื้อหอมนั้นก็จะหมดไป สิ่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกถึงความสมบูรณ์ของพระองค์นั้น
พระองค์นี้กดพิมพ์ติดค่อนข้างชัดเจนสมบูรณ์ พระกรรณด้านขวามือองค์พระติดชัดเจน ด้านซ้ายเห็นลางๆ ส่วนมวลสารพอเห็นอยู่บ้างเพราะผิวยังไม่เปิดและมีคราบน้ำปูนบดบังอยู่ พูดถึงเรื่องพิมพ์ทรง พระองค์นี้ไม่ใช่พิมพ์ของ
หลวงวิจาร เจียรนัย ถึงแม้กรอบกระจกด้านซ้ายมือองค์พระจะมาชนซุ้มผ่าหวายตามแบบพิมพ์นิยมก็ตาม ฝีมือการแกะพิมพ์ของหลวงวิจาร นั้นมีเอกลักษณ์หลายๆอย่าง ถ้าเป็นภาษาช่างเขียนก็เรียกว่าเห็นทีแปรงก็จำได้
ว่าเป็นงานของใคร งานหลวงวิจารนั้นยกตัวอย่างไว้ให้บางส่วนเพื่อเก็บไว้พิจารณาเล่นๆคือ ๑.พิมพ์ของหลวงวิจาร นั้นจะได้สัดส่วนสวยงามแบ่งครึ่งองค์พระซ้าย-ขวาสัดส่วนเกือบจะเท่ากัน ๒.พระพักตร์ส่วนใหญ่เป็นลักษณะผลมะตูม
๓.วงแขนซ้าย-ขวา จะมีลักษณะคล้ายตัว U คือต้นแขนตั้งแต่หัวไหล่ถึงข้อศอกเกือบเป็นเส้นตรง จากข้อศอกลงมาจะเป็นเส้นโค้งคล้ายตัว U ๔.เกศพิมพ์ของหลวงวิจาร แกะนั้นดูด้านข้างจะเห็นว่างอนขึ้นพาดซุ้ม
จะไม่เป็นเส้นตรงเหมือนองค์นี้ เอาองค์รวมๆประมาณนี้ครับบอกมากไปเดี๋ยวจะสับสน ส่วนเรื่องกรอบกระจกที่แล่นลงมาชนซุ้มนั้น พิมพ์แรกๆของหลวงวิจารก็ไม่ได้ชนซุ้ม เพราะฉะนั้นจะยึดเป็นข้อตายตัวสำหรับพิมพ์
ของหลวงวิจารไม่ได้ แต่ถ้าซื้อ-ขายก็ต้องยึดตามนั้นนะครับ อย่าไปแก้กฎกติกาของเขา ก็ลองสังเกตกันดูนะครับ ส่วนเรื่องตำหนิเล็กๆน้อยๆในองค์พระ รวมถึงขนาดต้องเป๊ะนั้น ผู้เขียนไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ
เพราะพระเนื้อผง ไม่ใช่เหรียญ ผสมผงแต่ละครั้งมวลสารที่ใส่มากน้อยต่างกัน การหดตัวก็ย่อมต่างกัน พระทำพร้อมกันครกเดียวกันเก็บต่างสถานที่ ต่างสภาพอากาศองค์พระก็จะต่างกัน ผู้เขียนจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องนี้นัก





วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม

พระสมเด็จองค์นี้ เป็นพระกรุใหม่คราบกรุหนาพอสมควร เป็นพระเนื้อแก่ปูนตามสูตรบางขุนพรหม ดูเผินๆก็คล้ายพิมพ์สังฆาฏิบางท่านเลยเรียกพิมพ์นี้ว่า "ติตูม"




วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระกริ่งปวเรศ ปี๒๔๓๔

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขปีพ.ศ.๒๔๓๔ ก้นทองคำ หมุดทองคำ ชื่อพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขนั้น ท่านดร.ณัฐชัย เลิศรัตนพล เป็นผู้ตั้งขึ้น และเป็นคนแรกๆที่นำเรื่องพระกริ่งสายในวังมาเปิดเผยบอกเล่า ให้พวกเราได้รู้ได้เข้าใจกันมากขึ้น ต้องขอขอบพระคุณไว้ณ ที่นี้

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์อกกระบอก

พระองต์นี้เป็นพระพิมพ์อกกระบอก โบราณเรียกพระ พิมพ์ชายจีวรเส้นลวด เพราะตรงข้อศอกมีชายจีวรติดอยู่เป็นเส้นนูน



                                                                                                                                                                                                                                                                                               

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระเนื้อหนึกแกร่ง มีส่วนผสมของปูนสุกกำลังพอดีจึงดูนุ่มตาและมีความแกร่งในตัว พระองค์นี้เป็นพิมพ์ของหลวงวิจาร เจียรนัย





วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เส้นด้าย

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เส้นด้าย พระองค์นี้เป็นพระเนื้อปูนผสมผง หลวงปู่คำได้บันทึกไว้ว่าพระพิมพ์เส้นด้ายนั้นมีทั้งหมด ๑๕ พิมพ์ แต่ท่านไม่ได้บอกไว้ว่ารวมพิมพ์เส้นด้ายของกรุวัดบางขุนพรหมด้วยหรือไม่



พระสมเด็จ พิมพ์ฐานแซม

พระพิมพ์ฐานแซมองค์นี้ พิมพ์และเนื้อเป็นของวัดบางขุนพรหม แต่คงไม่ได้เก็บไว้ที่กรุบางขุนพรหม และยังปิดทองร่องชาดแบบของในวังซึ่งปกติพระกรุบางขุนพรหม จะไม่มีการปิดทองร่องชาด


วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

พระองค์นี้เป็นพระเก่าเก็บ ลงรักปิดทองเก่า รักได้หลุดร่อนตามกาลเวลา รักที่ใช้เป็นรักชาดหมายถึง การใช้รักน้ำเกลี้ยงผสมชาดสีจะออกแดงเข้ม พระลักษณะนี้จะทำให้เฉพาะเจ้านายชั้นสูง ถ้าเป็นบุคคลทั่วไปจะใช้รักน้ำเกลี้ยงและรักสมุก





พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์

พระองค์นี้เป็นพระเนื้อผงผสมข้าวสุก เป็นพระเนื้อหนึกนุ่ม ผ่านการล้างมาจนผิวเปิดหมดทำให้เห็นมวลสารขัดเจน การล้างพระนั้นไม่สมควรใช้แปรงที่แข็งล้าง ควรใช้แปรงหรือพู่กันนุ่มๆปัดฝุ่นออกก็พอ แต่ถ้ากลัวไม่สะอาดก็ใช้พู่กันนุ่มๆจุ่มน้ำอุ่นล้างแล้วก็ซับให้แห้งก็น่าจะพอ พระสมเด็จนั้นมีหลายเนื้อ ถ้าเป็นเนื้อปูนแกร่งก็สามารถแช่น้ำอุ่นได้โดยส่วนมากจะแช่น้ำอุ่นได้ ไม่ใช่น้ำเดือดนะครับ แต่ถ้ายังแยกเนื้อไม่ถูกก็ให้ทำอย่างที่บอกจะปลอดภัยกว่า คือใช้พู่กันจุ่มน้ำอุ่นล้างไม่ต้องผสมสบู่หรืออะไรทั้งสิ้น ล้างแล้วซับผึ่งลมให้แห้งแล้วค่อยเก็บครับ พระองค์นี้เป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ ที่เกศมีตุ่มหรือรัดเกล้าที่ฐานล่างสุดขวามือองค์พระมีเส้นขีดแหลมๆทะแยงไปที่มุมซุ้ม (ร่องน้ำ) บางท่านจึงเรียกพิมพ์นี้ว่า "เกศตุ่มฐานติ่ง"