พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พระองค์นี้ไม่มั่นใจเรื่องปี พ.ศ.ที่สร้างจึงไม่ขอกล่าวถึง จะขอกล่าวถึงเนื้อพระองค์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อทองผสม (รูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดบางคลานก็เช่นเดียวกัน) พระเนื้อทองผสมนั้นจะสังเกตได้ว่ามีสนิมหลากสี ตามเนื้อโลหะที่ผสมเข้าไป เช่น ๑.สนิมทองสีจะออกแดงและในสีแดงจะมีสีทอง ส้ม แสด แดงอยู่ในนั้น ๒.สนิมสีดำคือสนิมที่เกิดจากเนื้อเงิน ๓.สนิมสีขาวคือสนิมสังกะสี ๔.สนิมสีเขียวคือสนิมของทองแดง (สนิมเขียวจะหลุดง่าย) ตัวสนิมบนพระนั้นสามารถบอกถึงอายุพระได้ และในขณะเดียวกันโอกาสที่พระองค์นั้นๆจะเป็นพระแท้ได้สูง.





 

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคกลาง เนื้อผงผสมข้าวสุก และปูนเปลือกหอย ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวและยางไม้เป็นตัวประสาน พระยุคกลางมักแตกลานเพราะยังไม่ได้ใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน ในเนื้อพระองค์นี้จะมีจุดดำจุดแดงให้เห็นตามทฤษฎีที่ว่า พระสมเด็จจะต้องมีจุดดำจุดแดง แต่ทฤษฎีนี้ใช้ได้เฉพาะพระที่มีส่วนผสมของปูนสุกเท่านั้น ถ้าไม่มีส่วนผสมของปูนสุกก็จะไม่มีจุดดำจุดแดง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าพระองค์นั้นจะปลอม จุดดำจุดแดงเกิดจากตอนเผาเปลือกหอย ละอองถ่านไม้โกงกางจะปลิวฟุ้งปนอยู่กับเปลือกหอยเผา และละอองของเตาที่ก่อด้วยอิฐแดงก็จะฟุ้งผสมปนอยู่ด้วยเช่นกัน จึงเกิดจุดดำและจุดแดงในปูนเผา หรือปูนสุก เมื่อเอาปูนสุกมาสร้างพระสมเด็จ ในเนื้อพระก็จะมีจุดดำและจุดแดง พระองค์ไหนที่ไม่ได้ใส่ปูนสุกผสมก็จะไม่มีจุดดำจุดแดง ถ้ามีก็หลงมาน้อยเต็มที เพราะฉะนั้นพระสมเด็จแท้ จึงไม่จำเป็นต้องมีจุดดำ และจุดแดงจุดแดงเสมอไป.





 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคกลาง ไม่นิยมแต่ดูไม่ยาก พระองค์นี้ไม่สวย เป็นพระที่ท่านสมเด็จโตสร้างไว้ เนื้อหามวลสารอายุพระเป็นตัวบ่งบอก พระของท่านสมเด็จตมีเนื้อหลากหลาย จะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว โดยเฉพาะพระยุคต้น และยุคกลาง พระสองยุคนี้ที่พบเจอแต่ละองค์เนื้อจะต่างกัน เพราะสร้างต่างวาระ เนื้อคนละครก นอกเสียจากเจอเนื้อครกเดียวกันเนื้อก็จะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน (โอกาสน้อยที่จะเจอแต่มี) ในความต่างของเนื้อ จะมีมวลสารหลักที่เหมือนกันเช่น ผงพุทธคุณ เศษพระเมืองกำแพงเพชร เม็ดคราม และพระธาตุขาวใส ขาวขุ่น สีชมพูเป็นต้น ส่วนพระยุคปลายจะเจอเนื้อซ้ำกันมากกว่า คือสร้างไว้เป็นจำนวนมากแล้วเก็บอยู่ในที่เดียวกัน เช่นของที่สร้างปี พ.ศ.๒๔๑๑ พระชุดนี้มาแตกกรุในยุคสมัยของเรานี้ ก็จะเจอพระสมเด็จที่มีเนื้อเหมือนกันอยู่มาก เพราะออกมาจากที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันพระโรงงานก็ออกมาเนื้อเหมือนกันทั้งชุด แล้วแต่ล๊อตที่เขาทำก็ต้องสังเกตดีๆ โดยส่วนตัวจะชอบพระยุคต้น และยุคกลาง ส่วนพระยุคปลายเก็บตามค่านิยม.