วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566
พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี และเป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี พระยอดนิยมของประเทศไทย.
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก.
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคกลาง ลงรักสองชั้น.
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม พระองค์นี้ลงรักไว้แต่เดิมจึงไม่เห็นเส้นแซมระหว่างฐาน ลักษณะการลงรักเป็นแบบงานช่างสิบหมู่ คือครั้งแรกลงชาดแดงบนองค์พระก่อน เมื่อชาดแห้งดีแล้วจะลงรักสมุก (รักดำ) ทับอีกครั้ง บางครั้งก็มีการปิดทองเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถ้าเจองานที่ลงรักแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นพระพิมพ์ใด พระกริ่ง ประคำ หรือเครื่องรางต่างๆ นั่นคืองานของช่างราชสำนักทั้งสิ้น พระสมเด็จองค์ที่ลงนี้มีความบางมาก ตามคำที่ว่า "สมเด็จบาง นางหนา" แต่ความเป็นจริงแล้ว พระสมเด็จมีทั้งหนาและบาง ส่วนพระที่บางจะพบเห็นได้น้อยกว่าเท่านั้น.
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เส้นด้าย เนื้อผงใบลานผสมผงถ่านแม่พิมพ์ เนื้อพระจะออกสีดำเทา มีจุดสีขาวกระจายทั่วองค์พระ พระสมเด็จเนื้อนี้เด่นเรื่องคงกระพัน.
พระรอดกรุวัดมหาวันพิมพ์ใหญ่ จังหวัดลำพูน พระองค์นี้มีคราบน้ำสนิมเหล็กติดตามองค์พระ สันนิษฐานว่าอยู่ในดินชั้นล่าง มีความเหี่ยวย่นของเนื้อพระดี.
วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ขอบล่างฟันหนู) พระองค์นี้เป็นพระเนื้อขาวละเอียดดูหนึกนุ่ม จะมีเส้นเป็นขีดที่ใต้ฐานขอบซุ้มด้านล่าง เป็นที่มาของชื่อที่เรียกพิมพ์นี้ว่า "ขอบล่างฟันหนู"
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ