วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ พระองค์นี้ผ่านการใช้ และล้างมาอย่างหนัก จนมองไม่ออกว่าใบโพธิ์มีกี่ใบ เห็นครั้งแรกคิดว่าพิมพ์เกศบัวตูม จากการล้างพระทำให้ผิวพระเปิด จึงเห็นมวลสารได้ชัดเจนหลากหลาย ถึงแม้ว่าองค์พระจะไม่งาม แต่ก็ง่ายต่อการพิจารณา.
วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานคู่ เนื้อผงผสมเทียนชัย มีหลายท่านที่ไม่ทราบว่าพระพิมพ์ฐานคู่นั้น สร้างที่วัดระฆังมาก่อนที่จะสร้างบรรจุไว้ที่กรุวัดบางขุนพรหม โดยสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๗ แล้วนำแม่พิมพ์เก่ากลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง ปี พ.ศ.๒๔๑๓ เพื่อบรรจุกรุวัดบางขุนพรหม ในขณะเดียวกันก็มีการแกะแม่พิมพ์ฐานคู่เพิ่มขึ้นอีกหลายพิมพ์ เพื่อทำบรรจุกรุในครั้งนั้น.
วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อผงผสมเทียนชัย พระองค์นี้เป็นพระที่มีส่วนผสมของดินสอเหลือง หรือดินโป่งเหลือง ผสมกับเทียนชัย และข้าวสุกในปริมาณสัดส่วนใกล้เคียงกัน เนื้อจึงดูหนึกนุ่ม ส่วนพระที่เอาเทียนชัยเป็นเนื้อพื้นก็มี แต่ไม่มีอะไรตายตัวแล้วแต่ท่านจะใส่ส่วนผสมใดมากน้อย พระองค์นี้เป็นพระยุคปลาย ฝีมือช่างหลวง พิมพ์ทรงจึงดูสวยงาม.
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคต้น คนโบราณเรียก "พิมพ์ชายจีวรหนา" เป็นพระเนื้อผงแก่ข้าวสุก แกะแม่พิมพ์โดยช่างชาวบ้าน แม้นจะดูไม่งามเท่าช่างหลวงแต่ก็ดูมีเสน่ห์แบบซื่อๆ ในปัจจุบันพระแบบนี้เราพบเห็นได้น้อยเต็มที เพราะเล่นหากันแต่พระยุคปลายกันเสียส่วนใหญ่ พระยุคต้นจึงค่อยๆจางหายไปอย่างน่าเสียดาย.
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
พระท่ากระดาน พิมพ์ใหญ่ สนิมแดงกรุวัดกลาง หรือวัดท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี คนรุ่นเก่ามักเรียกพระท่ากระดานว่า "พระเกศบิดตาแดง" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ที่มีเกศยาว และบิดม้วนเป็นรูปทรงต่างๆ (ที่เกศตรงก็มี) ส่วนคำว่าตาแดงนั้น เหตุเพราะพระกรุนี้แก่ตะกั่วจึงมักเกิดสนิมแดงโดยทั่วองค์พระ รวมถึงที่ดวงตาด้วย แต่มีบางองค์ที่ได้มีการทาชาดสีแดงไว้แต่โบราณที่บริเวณพระเนตร หรือดวงตาไว้ด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า "พระเกศบิดตาแดง" สำหรับพระที่ลงในวันนี้มีการลงรักปิดทองมาแต่เดิม ซึ่งยังมีหลงเหลือไว้ให้เห็น ผสมกลมกลืนกับสนิมแดงดูสวยงาม.
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ