วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อผงคลุกรักหลังแบบ ลงรักปิดทองมาแต่เดิม รักที่เจอในพระปิดตาของหลวงพ่อแก้วนั้นมีสองแบบ คือรักจีนจะออกสีน้ำตาลอมแดง และรักดำหรือรักสมุกซึ่งมีสีดำ สำหรับพระที่ลงวันนี้เป็นรักสมุก.
วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566
วันนี้ลงพระเกศบัวตูมยุคต้น วัดระฆังให้ชมสององค์.
วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ พิมพ์กลีบบัว พระองค์นี้เป็นพระยุคต้นที่ท่านสมเด็จโตได้สร้างไว้ เนื้อพระค่อนข้างหยาบใช้น้ำอ้อยเคี่ยวและยางไม้เป็นตัวประสานเนื้อพระ.
วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566
หนุมานงาแกะหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน อ.เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี
วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคปลาย (นิยม) เนื้อปูนสุกผสมปูนดิบ สภาพยังไม่ผ่านการใช้ ผิวพระจึงยังไม่เปิด.
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม (นิยม) ยุคปลาย เนื้อปูนสุกผสมปูนดิบ ฝีมือช่างหลวงแกะแม่พิมพ์ถวาย พระองค์นี้เป็นพระเก่าเก็บยังไม่ผ่านการใช้ ตามพื้นผนัง มีคราบของน้ำมันตังอิ๊วสีน้ำตาลอมเหลืองให้เห็นชัดเจน ส่วนพระองค์ใดที่ใช้น้ำอ้อนเคี่ยวเป็นตัวประสานคราบจะออกสีดำ เป็นวิธีสังเกตว่าพระองค์นั้นใช้อะไรเป็นตัวประสานเนื้อพระ.
วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ เป็นพระยุคกลางฝีมือช่างสิบหมู่ เนื้อพระเป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก (เนื้อแก่ผง) ยังใช้น้ำอ้อยเคี่ยว และยางไม้เป็นตัวประสาน เพราะฉะนั้นพระองค์นี้สร้างก่อนปี พ.ศ.๒๔๐๗ ปัจจุบันพระพิมพ์พิเศษแบบนี้พบเจอน้อยลงไปมาก แทบจะไม่ได้พบเห็นอีกเลยในท้องตลาด.
วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566
๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๖ ครบรอบ ๑๕๑ ปี แห่งมรณกาล ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
พระรอดพิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน
วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระวัดปากน้ำรุ่น๑
พระพุทธชินราชเนื้อหินเขียวแกะ ปิดทองร่องชาด สร้างฉลองพระธาตุพนมจำรองของวังหน้า เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ ซึ่งทันท่านสมเด็จโต ที่แผ่นทองคำจารึกว่า "ขรัวโต พระธาตุ ๒๔๐๑ " ได้นำไปตรจค่าแผ่นทอง เป็นทองคำแท้ 95.87% พระแต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน เพราะเป็นงานแกะสดที่ละองค์.
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์โย้ เดิมทีในสมัยก่อนจะเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์พระประธาน" มาเปลี่ยนเรียก "พิมพ์ทรงเจดีย์" ก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้ไม่นาน พระพิมพ์นี้แยกออกได้มากกว่า ๔ พิมพ์ แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ที่สำคัญคือ พระองค์นั้นต้องเป็นพระแท้ สำหรับพระที่ลงในวันนี้เป็นพระยุคกลาง เนื้อผงผสมปูนสุก ตามพื้นผนังแตกลายหนังจรเข้ ส่วนบริเวณลำพระองค์หรือลำตัวพระ แตกลายสังคโลก การแตกลักษณะนี้เรียก "แตกลายผสม" เมื่อนำพระเข้ากล้องขยายกำลังสูง พบว่ามีแร่รัตนชาติหลายสีผสมอยู่ในเนื้อพระดูงามตา และช่วยเพิ่มความมั่นใจว่า พระองค์นี้เป็นพระที่หลวงปู่โตท่านสร้างไว้.
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ