วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคปลาย (นิยม) ฝีมือช่างหลวง วรรณะน้ำตาลอ่อน พระองค์นี้เคยลงรักมาก่อน.
วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566
พระกริ่งปวเรศปี ๒๔๑๑ ตอกโค๊ตหลัง ๑๙ โค๊ต.
พระกริ่งปวเรศ ปี๒๔๓๔ พระชุดนี้จะตอกโค๊ตเม็ดงาไว้ด้านหลัง และในโค๊ตจะมีลายเล็กๆซ่อนอยู่ ที่พบมีลายอยู่ ๓ แบบ.
วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อกังใส บางท่านเรียกเนื้อปูนเพชร แต่โดยส่วนตัวเข้าใจว่า น่าจะเป็นพระเนื้อดินจากเมืองจีนมากกว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านได้สั่งดินเข้ามาจากเมือง"อันฮุย" เพื่อนำมาทำเครื่องเบญจรงค์ (โดยให้ทางวังหน้าเป็นผู้จัดทำ) และได้นำดินนี้มาสร้างพระชุดนี้ขึ้น ดินนี้อยู่ในกลุ่มดิน พอร์ซเลน (Porcelain) เป็นเซรามิกที่มีเนื้อสีขาว และมีการเคลือบผิวเป็นมัน เนื้อละเอียด บางท่านก็เรียก "ดินเกาลิน" ส่วนเนื้อปูนเพชร หรืออีกชื่อเรียก "ประทาย" นั้นเนื้อจะหยาบกว่า ปูนเพชรเป็นปูนสำหรับทำงานปั้น (ปั้นสด) ส่วนใหญ่เพื่อประดับตกแต่งศาสนสถาน เรียกกันว่างานปูนปั้น ช่างที่มีชื่อทางด้านนี้ต้องยกให้ช่างจังหวัดเพชรบุรีที่มีฝีมือโดดเด่น เป็นเลิศ เรียกว่า งานสกุลช่างเพชรบุรี งานปูนปั้นที่เก่าและงดงามดูได้ที่ หน้าบันโบสถ์วัดเขาบันไดอิฐ (วัดหลวงพ่อแดง) เป็นงานปูนปั้นไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังมีอีกหลายวัดที่ยังเหลือไว้ให้ชม ที่พบงานปูนปั้นเก่าที่สุดคือสมัยทวารวดี สำหรับพระสมเด็จ จะเป็นปูนเพชร หรือดินจากเมืองจีน ขอให้เป็นพระที่ท่านสมเด็จโตอธิฐานจิต ก็น่าเก็บสะสมทั้งนั้นครับ.
วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566
พระกริ่งปวเรศปี ๒๔๑๖ จีวรลายดอก
วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566
พระกริ่งปวเรศปี ๒๔๓๔ บุเงิน
วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566
พระกริ่งปวเรศปี ๒๔๑๗ จีวรลายดอก กะไหล่ทอง โค๊ตเม็ดงา ๗ โค๊ต
วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566
พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์ สร้างปีพ.ศ.๒๓๙๘ (ต้นรัชกาลที่๔) เนื้อสำริดบุเงิน จัดอยู่ในกลุ่มพระกริ่งยุคต้นๆของการสร้างพระกริ่งในสยาม (ต้นแบบมาจากพระกริ่งเก่าโบราณของเขมร) เชื่อกันว่าท่านสมเด็จโตมีส่วนร่วมอธิฐานจิตในพระกริ่งพิมพ์นี้ด้วย.
วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566
พระกริ่งปวเรศจีวรลายดอก ปี ๒๔๑๗ กะไหล่ทอง
วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566
พระกริ่งปวเรศ ปีพ.ศ.๒๔๑๖
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคกลาง ฝีมือช่างสิบหมู่ องค์พระลำสันเส้นซุ้มผ่าหวายใหญ่ เนื้อแน่นแกร่ง เป็นพระยุคกลางตอนปลาย รูปทรงได้สมมาตร แต่เนื้อพระยังแตกรานอยู่.
วันนี้ลงพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคปลายให้ชม ๖ องค์.
วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ยุคปลาย.
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังยุคต้น องค์พระกดพิมพ์ไว้ไม่ชัดเจน เข้าใจว่าเป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ หรือในสมัยของท่านสมเด็จโตเรียกว่า "พิมพ์พระประธาน" ช่างชาวบ้านเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย ดูไม่สมมาตร การตัดขอบไม่งามเหมือนงานช่างหลวง เท่าที่พบพระยุคต้นแม่พิมพ์ที่แกะโดยช่างสิบหมู่ก็มีอยู่เช่นกัน สำหรับเนื้อพระองค์นี้เป็นเนื้อผงพุทธคุณผสมข้าวสุก มีมวลสารหลักที่เห็นชัดคือ แร่โพรงเหล็กไหล หรือแร่ดอกมะขาม ที่เรียกเป็นทางการว่าแร่เฮมาไทดฺ์ (Haematite) ที่ใส่ในพระกรุเมืองกำแพงเพชร เช่นพระซุ้มกอ พระลีลาเม็ดขนุนเป็นต้น แร่โพรงเหล็กไหล หรือแร่ดอกมะขามมีในพระสมเด็จยุคต้นมากกว่าพระยุคกลาง และปลายซึ่งมีผสมไว้ในเนื้อพระเช่นกันแต่น้อย เชื่อกันว่าแร่โพรงเหล็กไหลนี้ให้คุณทางด้านอยู่ยงคงกระพัน.
วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566
เจอบทความเก่าเรื่องของรักที่เขียนไว้นานแล้ว เห็นว่าน่าสนใจมีประโยชน์จึงนำมาลงให้อ่านอีกครั้งครับ
วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคต้น สภาพผ่านการใช้ เนื้อผงผสมข้าวสุกดูหนึกนุ่ม
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ