วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อผงผสมดิน เป็นพระยุคแรกๆที่ท่านสมเด็จโตสร้างไว้ ในเนื้อพระมีเศษพระซุ้มกอ หรือเศษพระเมืองกำแพงเพชรผสมอยู่มาก เราจะพบเศษพระซุ้มกอมากในพระยุคต้น และพระยุคกลาง ส่วนพระยุคปลายจะพบเศษพระซุ้มกอน้อย.
พระพิมพ์พิเศษที่หลวงปู่โตท่านสร้างไว้ เป็นพระที่มีขนาดเล็กเหมาะสำหรับสุภาพสตรี มีพิมพ์หลังประทุน (หลังนูนโค้งคล้ายหลังคาเรือ) สององค์ และพิมพ์เล็บมือหนึ่งองค์ นำมาลงให้ชมว่าพระของท่านพิมพ์แบบนี้ก็มี ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบ.
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
วันนี้มีพระสมเด็จพิมพ์คะแนนองค์เล็กไม่ตัดขอบให้ชมสององค์ พิมพ์พระประธานหนึ่งองค์ พิมพ์หกชั้นอกตลอดหนึ่งองค์
วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ปิดทองร่องชาด พระองค์นี้เป็นพระยุคกลางตอนปลาย เนื้อผงผสมข้าวสุกเริ่มมีการใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน เนื้อพระหนึกนุ่ม ชาดที่ใช้ในยุคนั้นนำเข้ามาจากจีน นำเข้ามากในช่วงรัชกาลที่ ๓ ชาดหรือจะเรียกว่า "รักจีน"หรือ "รักชาด" ก็ได้ เพราะใช้ผงชาดเคี่ยวกับยางรักจึงได้รักสีแดง เมื่อนำเข้ามาใช้ในสยามช่างได้นำรักจีนมาผสมกับรักไทย หรือรักดำ รักเลยออกสีน้ำตาลแดง สีลูกหว้าสุก หรือสีแดงตากุ้ง แล้วแต่ส่วนผสมของช่างแต่ละคน เราจึงเห็นรักจีนที่สีแตกต่างกัน ถ้าเราเข้าใจเรื่องของรัก ดูความเก่าของรักเป็น เราก็จะพิจารณาพระสมเด็จที่ลงรักได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสได้พระสมเด็จที่หลวงปู่โตสร้างง่ายขึ้นด้วย.
วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ยุคปลาย เนื้อปูนดิบ ปูนดิบคือการนำเอาเปลือกหอยมาทำความสะอาด ตากให้แห้ง (ไม่ผ่านการเผา) แล้วจึงนำมาตำร่อนด้วยตะแกรงที่ตาละเอียด ก็จะได้ผงปูนดิบมาทำพระสีจะออกเทาอ่อนๆ เนื้อแกร่ง พระองค์นี้ยังไม่เคยผ่านการใช้ มีมวลสารให้เห็นหลากหลาย.
วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ยุคปลาย เนื้อปูนดิบ ปูนดิบคือการนำเอาเปลือกหอยมาทำความสะอาด ตากให้แห้ง (ไม่ผ่านการเผา) แล้วจึงนำมาตำร่อนด้วยตะแกรงที่ตาละเอียด ก็จะได้ผงปูนดิบมาทำพระสีจะออกเทาอ่อนๆ เนื้อแกร่ง พระองค์นี้ยังไม่เคยผ่านการใช้ มีมวลสารให้เห็นหลากหลาย.
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคต้น พิมพ์นี้ไม่มีเส้นซุ้มผ่าหวาย เนื้อหนึกนุ่มใบหน้าคล้ายผลมะตูม ฐานแรกเป็นฐานหมอน ฐานกลางเป็นฐานแข้งสิงห์ ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดานตัดเฉียง มีผลึกแคลไซต์ตามพื้นผนัง.
วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนกสีมะขามเปียก กรุวัดหนองพิกุล หรือเรียกรวมๆกันว่ากรุลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร พระชุดนี้มีอยู่หลายกรุและหลายพิมพ์ เช่นกรุวัดหนองพิกุล กรุฤาษี กรุวัดบรมธาตุ และกรุวัดหนองลังกาเป็นต้น ไม่ว่ากรุใดล้วนเป็นที่นิยมของนักสะสมทั้งสิ้น แต่ที่นิยมสูงสุดคือพระลีลาเม็ดขนุน และพระซุ้มกอซึ่งถูกจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของพระชุดเบญจภาคี พระสองพิมพ์นี้จึงมีมูลค่าราคาสูงกว่าพิมพ์อื่นๆในกรุเดียวกัน.
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ บางท่านเรียก "พิมพ์เจดีย์แหวกม่าน" เป็นพระยุคกลาง เนื้อแก่ข้าวสุกดูหนึกนุ่ม ช่างหลวงเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย.
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง ลงรักจีนสีลูกหว้าสุก รักแห้งดูเก่าเป็นธรรมชาติ โดยส่วนตัวการดูพระเก่ารุ่นหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ และหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ก็จะอาศัยดูรักเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะรักจีนเพราะพระยุคนั้นยังทันการใช้รักจีนอยู่ ก่อนหยุดนำเข้า ซึ่งรักจีนเป็นของหายากในยุคนั้น ผู้ที่จะมีใช้ส่วนใหญ่ก็พวกราชสำนัก เชื่อว่าพระที่เก่งๆในสมัยนั้นคนในราชสำนักก็คงไปมาหาสู่เช่นกัน เลยได้รักจีนจากคนในราชสำนัก รักจีนความจริงก็คือชาด จีนใช้ยางรักเคี่ยวกับชาดจอแสเลยได้รักสีแดงสด มาถึงไทยได้นำรักชาดมาผสมกับรักไทยคือรักสมุก (รักดำ) ช่างแต่ละคนก็ผสมสัดส่วนต่างกันจึงได้สีแดงตากุ้งบ้าง สีลูกหว้าสุกบ้างตามสัดส่วน จึงเกิดจุดแดงบนเนื้อพระตามที่สอนกันมาว่า พระปิดตาลงรักหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูงต้องมีจุดแดงก็ด้วยเหตุนี้ จุดแดงเกิดขึ้นสองกรณี คือจุดแดงจากผงชาดที่ยังหลงเหลืออยู่ สองเกิดจากจุดตรงนั้นบางใสเห็นเนื้อชั้นล่างของรักส่วนที่รักดำไม่เข้ากับชาด ส่วนตรงนั้นจะใสออกแดง สรุปว่าการดูรักเป็นหรือเข้าใจเรื่องรักจะช่วยในการพิจารณาพระองค์นั้นๆได้ง่ายขึ้น.
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ พระองค์นี้มีพิเศษกว่าพระพิมพ์ทรงเจดีย์องค์อื่นที่เกศ เพราะเป็นเกศชฎาซึ่งหายากมาก คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าพระสมเด็จวัดระฆัง มีพิมพ์ที่เป็นเกศชฎาอยู่ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก คนทั่วไปจึงไม่ทราบว่า เกศแบบนี้ท่านสมเด็จโตก็ได้สร้างไว้เช่นกัน พระองค์นี้เนื้อหนึกนุ่ม และเคยลงรักน้ำเกลี้ยงมาก่อน.
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ