วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ ๘-๙ มีใบโพธิ์ข้างซ้าย ๘ ใบ ข้างขวา ๙ ใบ (ใบที่ ๙ เล็กเป็นการแกะใบเพิ่ม) จากหนังสือสมเด็จโต (บันทึกหลวงปู่คำ) เขียนไว้ว่าพระพิมพ์นี้ "หลวงสิทธิ์" เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย เนื้อพระเป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก ผงเกสร ผงใบลาน ผงใบเสมา ผงดำ ผงเก่าที่เหลือจากทำพระปรกโพธิ์พิมพ์ก่อน (ผงที่ทำพระพิมพ์ปรกโพธิ์ท่านจะแยกไว้สำหรับทำพระพิมพ์ปรกโพธิ์เท่านั้น) ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสาน ทำแจกในงานรับพัดยศ วัดระฆัง ขณะนั้นท่านครองสมณศักดิ์เป็นพระธรรมกิติโสภณ จ.ศ. ๑๒๑๗ หรือ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุ ๖๗ ปีย่างเข้าปีที่ ๖๘
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกกระบอก เนื้อปูนดิบผสมปูนสุก ใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสานเนื้อพระ ช่างหลวงเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย เป็นพระยุคปลายที่สร้างหลัง พ.ศ.๒๔๐๗ พระพิมพ์อกกระบอกนี้ เป็นพิมพ์ที่ช่างได้แรงบันดาลใจมาจากพระพุทธรูปอู่ทอง ซึ่งมีลำตัวตรงคล้ายทรงกระบอก นำมาเป็นแบบของพระพิมพ์นี้.
วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม พระองค์นี้เป็นพระยุคปลายฝีมือช่างหลวงแกะแม่พิมพ์ ที่ฐานมีเส้นแซมสองเส้น พระพิมพ์เกศบัวตูมที่ฐานมีเส้นแซมเส้นเดียวก็มี และไม่มีเส้นแซมเลยก็มี พระองค์นี้ปิดทองร่องชาดมาแต่เดิมเพื่อทำให้สำหรับเจ้านายในราชสำนัก ในสมัยนั้นชาดจะใช้เฉพาะในราชสำนัก ส่วนบุคคลธรรมดาทั่วไปให้ใช้รักน้ำเกลี้ยง หรือรักดำ เนื้อพระองค์นี้เป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก มีปูนผสมเล็กน้อย เนื้อหนึกแกร่่งดูคล้ายกระดูก น่าเสียดายที่ตรงหน้ามีร่องตั้งแต่ตอนถอดออกจากแม่พิมพ์ แต่โดยรวมก็ดูสมบูรณ์สวยงามดี.
วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม พระองค์นี้เป็นพระยุคปลายฝีมือช่างหลวง ผ่านการล้างมาอย่างหนัก จนผิวเปิดหมดน่าเสียดาย แต่สิ่งที่ได้คือทำให้เห็นมวลสารต่างๆชัดเจนขึ้น เนื้อพระหนึกนวลดูนุ่มตา.
วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อว่านสบู่เลือด หรือสมเด็จแดงกวนอู คนรุ่นหลังมีคนที่รู้จักน้อย วันนี้เลยนำมาให้ชมกันอีกครั้ง พร้อมบทความจากหนังสือ "สมเด็จโต" เป็นพระดีที่ถูกลืมพิมพ์หนึ่ง
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เกศพาดซุ้ม ใบหน้าคล้ายผลมะตูม เห็นหูข้างซ้ายลางๆ ลำตัวค่อนข้างตรง แบบพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง พระองค์นี้เป็นยุคปลายฝีมือช่างหลวง เนื้อพระเป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก ใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน เนื้อดูหนึกนุ่ม สภาพสวยสมบูรณ์ คนโบราณเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์ชายจีวบาง"
วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566
พระหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานพิมพ์ขี้ตาสี่ชาย เป็นพระที่เทหล่อทีละองค์ สร้างก่อนพิมพ์นิยม เนื้อโลหะเป็นโลหะผสมหลายชนิดที่ทางวัด และชาวบ้านช่วยกันนำโลหะมาหลอมเพื่อหล่อพระ กระแสโลหะที่ได้จึงมีหลากสีในเนื้อ การหล่อโบราณผิวพระจะไม่ตึงเหมือนการหล่อเหวี่ยงในปัจจุบัน ตามผิวจะมีรูพรุน หรือรูตามด และมักมีก้อนสแลก หรือบางท่านเรียกก้อนเหล็กไหล มีสีดำเป็นมันฝังอยู่ในเนื้อ (สแลก หรือตะกรัน คือสิ่งสกปรกที่ไม่สามารถละลายในทองเหลืองได้) สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในพระหล่อโบราณ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม หรือเหรียญจอบก็ตาม ถือเป็นจุดสังเกตพระเก่าแท้ได้.
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ