วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง พระองค์นี้ผ่านการล้างมาอย่างหนัก ทิ้งร่องรอยและเรื่องราว ไว้ในซอกบางจุดเท่านั้น พระองค์นี้เป็นพระเนื้อค่อนข้างละเอียด มีแร่และอัญมณีโพล่ให้เห็นเหนือผิวพระอยู่ทั่วไป อัญมณีและก้อนแร่ กรวดจะไม่มีสันเหลี่ยมคม เนื้อของพระนางพญานั้นมีอยู่ ๓ แบบคือ ๑.เนื้อค่อนข้างละเอียด ๒.เนื้อหยาบ และ๓. เนื้อแก่แร่คือจะปรากฏมวรสารเม็ดใหญ่ให้เห็นชัดเจน ส่วนมวลสารในพระนางพญานั้น จะมีโพลงเหล็กไหล (แร่ดอกมะขาม) พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่านใบลาน ทรายเงินทรายทอง เหล็กน้ำพี้ และว่าน ๑๐๘ ส่วนสีก็มีหลายสีเช่น สีดอกพิกุลแห้ง สีอิฐมอญ สีเขียวหินครก สีดำ สีช๊อกโกแลต (สีน้ำตาลเข้ม) และสีแดงเข้มเป็นต้น ที่สำคัญเนื้อพระต้องมีความเหี่ยวและมีความฉ่ำในตัว.






 

พระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างไว้มีมากเนื้อ และมากพิมพ์ วันนี้นำมาให้ชมเป็นตัวอย่างบางส่วน.




 

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ลงรักปิดทอง พระชุดนี้เริ่มมีผู้สนใจกันมากขึ้น เพราะปิดทองคำเปลวอย่างหนา และองค์พระส่วนใหญ่สภาพสวยสมบูรณ์ พระชุดนี้มีมากพิมพ์ ไม่ทราบว่าสร้างไว้วาระใด แต่หลังปี พ.ศ.๒๔๐๗ เพราะมีแม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์อยู่ด้วย (เช่นองค์ที่ลงไว้วันนี้) พระชุดนี้มีการรวบรวมพิมพ์ต่างๆมาสร้างไว้ หลากหลายพิมพ์ แม้แต่พิมพ์ของวัดเกศก็มี ด้านหลังองค์พระมีหลายแบบ เช่นหลังเรียบ หลังสังขยา หลังกระดาน และหลังตราพระราชลัญจกร ร.๔ ผมมีพระชุดนี้อยู่บ้าง เลยนำพระที่ลงไว้วันนี้ไปล้างรักออกเพื่อดูเนื้อในว่าเป็นพระแท้ หรือพระสนาม (โรงงาน) เนื้อในเป็นเนื้อแบบของวัดระฆัง คือผงผสมข้าวสุก มวลสารมีน้อย แต่ก็ยังมีให้เห็น ความแกร่งของเนื้อพระดี เช็คแคลไซต์ด้วยกรด ขึ้นฟองใหญ่สองชั้น และฟองอยู่นาน หมายความว่าพระมีอายุเก่า พอสรุปได้ว่าพระชุดนี้เป็นพระเก่าที่ทันท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่ยังมีสภาพสวยสมบูรณ์มาก.









 

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ เนื้อดินเกาลิน มีขนาดใหญ่กว่าพระสมเด็จทั่วไป คือมีขนาด 3.3 x 6 ซ.ม.เป็นงานช่างหลวง (อาจเป็นฝีพระหัตถ์ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ก็เป็นได้ซึ่งหาชมยาก) พระองค์นี้ด้านบนเป็นรูปพระพุทธ มีพระโมคคัลลาน์-สารีบุตรอยู่ซ้าย-ขวา ส่วนด้านล่างเป็นรูปท่านสมเด็จโต มีแจกันดอกไม้บูชา อยู่ซ้าย-ขวา เนื้อพระดูหนึกแกร่งสวยงามมาก พระเหล่านี้สร้างจำนวนไม่มากนัก.




 

พระนางเสน่ห์จันทร์ กรุตาเถรขึงหนัง จังหวัดสุโขทัย เป็นพระเนื้อดินแตกกรุจากการบูรณะโบราณสถานสุโขทัย เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๒ที่วัดตาเถรขึงหนัง โดยกรมศิลปากรได้ขุดพบพระกรุนี้เข้าด้วยความบังเอิญ เล่ากันว่าเมื่อกรุถูกเปิดออก ได้มีกลิ่นหอมโชยอบอวลฟุ้งไปทั่วบริเวณ แม้แต่พระเครื่องก็มีกลิ่นหอมทุกองค์ สร้างความแปลกใจแก่คณะที่ขุดพบเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ต่อมาพระพิมพ์นี้จึงถูกขนานนามว่า "พระนางเสน่ห์จันทร์" พระนางเสน่ห์จันทร์ เป็นงานศิลปสุโขทัย พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัยนั่งขัดราบบนฐานเขียง อยู่ในทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีขนาดสูงประมาณ ๓-๓.๒ ซ.ม. กว้าง ๒.๕ ซ.ม. เป็นพระเนื้อดินเผา ปัจจุบันเป็นพระที่มีผู้นิยมสะสมมากองค์หนึ่ง