วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

พระสมเด็จนั้นแบ่งออกได้เป็น๓ยุคคือ ยุคต้น ยุคกลาง และยุคปลาย พระยุคต้นนั้นส่วนใหญ่เป็นแม่พิมพ์ชาวบ้าน แม่พิมพ์แกะจากไม้ซึ่งแม่พิมพ์มักไม่สวยงาม ความงามเชิงศิลปะยังไม่ค่อยลงตัวนัก มีช่างหลวงแกะแม่พิมพ์ให้จำนวนหนึ่ง เนื้อพระมีหลายเนื้อแต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อแก่ข้าวสุกใช้น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้งและยางไม้เป็นตัวประสานเนื้อพระ พระยุคกลางเริ่มมีช่างหลวงมาแกะแม่พิมพ์ให้มากขึ้นช่างชาวบ้านเริ่มหมดไป เริ่มใช้ปูนเปลือกหอยมากขึ้นผิวพระมักแตกรานเพราะยังใช้น้ำอ้อยเตี่ยว น้ำผึ้ง ยางไม้กล้วยน้ำไทเป็นตัวประสานหลักซึ่งบางครั้งที่เราส่องเห็นเม็ดดำอมน้ำตาลนั่นคือเมล็ดกล้วย แต่พระยุคปลายจะไม่มีหรือมีก็น้อยมาก พระยุคปลายเป็นพระฝีมือช่างหลวงแทบทั้งสิ้น พิมพ์ทรงสวยงามเนื้อพระแทบไม่แตกรานหรือแตกรานก็น้อยเพราะใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสานเนื้อพระ ใช้ปูนเปลือกหอยมากขึ้นมีทั้งเปลือกหอยดิบและเปลือกหอยสุกเปลือกหอยดิบจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเปลือกหอยสุกจะมีสีขาวอมเหลือง ถ้าใส่น้ำมันตังอิ๊วน้อยเนื้อจะหนึกแกร่ง ถ้าใส่ตังอิ๊วมากเนื้อจะหนึกนุ่ม ซึ่งพระยุคปลายคือพิมพ์นิยมที่เล่นหากันในปัจจุบัน




วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

พระสมเด็จ ๓ วัด




วันนี้ขอลงเรื่องหลวงปู่ทวด พระหลวงปู่ทวดนั้นที่พบเจอ มีสร้างมาตั้งแต่สมัยร.๔แล้ว และหลวงปู่ทวดนั้นมีตัวตนอยู่จริง ท่านเกิดวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๒๕ (ตรงกับรัชสมัยของพระมหาธรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา) ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ต.ชุมพล เมืองจะทิ้งพระ นามเดิมท่านชื่อ"ปู" อายุ ๑๕ ปี ท่านบรรชาเป็นสามเณร ได้ไปศึกษาที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช และได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโม ธมมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าสามีราม" หรือ "เจ้าสามีราโม" หลังจากนั้นท่านได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา ได้พำนักศึกษาธรรมและภาษาบาลีที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช จนเชี่ยวชาญแล้ว จึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราช ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดราชานุวาส ช่วงนั้นอยู่ในช่วงแผ่นดินของสมเด็จพระเอกาทศรถ ทั้งประชาชนและพระเจ้าอยู่หัวต่างก็นับถือท่านอย่างมาก มีครั้งหนึ่งเกิดโรคห่าระบาดหนักทั่วเมือง ประชาชนล้มป่วยเจ็บตายจำนวนมาก พระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากจึงมีรับสั่งให้อำมาตย์ ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาด (เรื่องนี้คล้ายกับการเกิดโรคห่าระบาดในสมัยร.๕) ด้วยอำนาจคุณความดีของท่าน ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์" ท่านอยู่ที่กรุงศรีอยุธาหลายปีแล้วได้เดินทางกลับมาอยู่ภูมิลำเนาเดิมจนท่านละสังขาร ในวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๒๒๕ สิริอายุได้ ๑๐๐ ปี ตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท่านอยู่ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวถึง ๑๑ พระองค์ ส่วนพระที่ลงในวันนี้เป็นพระที่สร้างในสมัยร.๔ ที่ลงไว้นี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่พบเจอมีมากแบบและมากเนื้อกว่านี้ แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบ จะเข้าใจว่าพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกที่สร้างคือปีพ.ศ.๒๔๙๗เท่านั้น อันนี้ก็แล้วแต่ผู้ที่สะสม มีคนกลุ่มเล็กๆที่ศึกษาและเข้าใจตามเก็บพระชุดนี้อยู่เงียบๆ











วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

๑๗ เมษายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านสมเด็จฯโต แห่งวัดระฆัง


สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านเกิดวันพฤหัส ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก จ.ศ. ๑๑๕๐ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ ในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปีจึงเป็นวันคล้ายวันเกิดท่าน ถ้าท่านมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน ท่านจะมีอายุขณะนี้ ๒๒๙ ปี วันนี้จึงถือโอกาสนำรูปเหมือนของท่านมาลงให้ชม เป็นรูปหล่อรอยองค์เนื้อสัมฤทธิ์หน้าตัก ๕ นิ้ว ใต้ฐานติดผนึกพระสมเด็จไว้ ๕ องค์ มีรอยจารลงบนสังฆาฏิตลอด หน้าจรดหลัง