วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์

พระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้นได้ทำกันหลายวาระ และหลายสถานที่ เฉพาะที่วัดระฆังนั้นหลวงปู่คำได้บันทึกว่าเนื้อที่สร้างพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้นท่านจะแยกไว้ต่างหากสำหรับทำพระพิมพ์นี้โดยเฉพาะไม่ไปปนกับการทำพระพิมพ์อื่นๆ เท่าที่หาข้อมูลได้พระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น ท่านเริ่มทำครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๓๘๓ ทำแจกในงานฉลองพัดยศ วัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหาร) ครองสมณศักดิ์เป็นพระครูปริยัติธรรม ตอนนั้นท่านอายุ๕๒ปี เป็นพระพิมพ์ปรกโพธิ์ ๕-๖ ใบ คือมีใบโพธิ์ ๕ ใบหนึ่งข้าง ๖ใบหนึ่งข้าง และพิมพ์นี้ได้นำกลับมาทำอีกครั้งปี พ.ศ.๒๔๑๓ ตอนทำบรรจุที่กรุวัดบางขุนพรหมใน (วัดใหม่อมตรส) การทำพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น ท่านจะเพื่มใบโพธิ์ครั้งละ ๑ ใบคือ ๕-๖ ครั้งหน้าก็จะเป็น ๖-๖ ละ ๖-๗ แบบนี้ไปเรื่อยๆ พระองค์ที่ลงไว้นี้เป็นพิมพ์ปรกโพธื์ ๘-๙ หลวงสิทธิ์เป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย พระพิมพ์ปรกโพธื์นั้นเป็นพระที่ให้ความร่มเย็นเป็นสุขกับผู้ที่ครอบครอง
(หลวงปู่คำว่าไว้)




วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์นี้เป็นพระเนื้อหนึกแกร่ง มีส่วนผสมของปูนสุกมากพอสมควร ทำให้เนื้อดูแกร่งตามผนังพื้นทั้งหน้าหลังมีคราบน้ำปูนสีขาวหรือแคลเซียมเกาะอยู่ พระองค์นี้เป็นพระที่สมบูรณ์มากแทบจะไม่ได้ผ่านการใช้มาเลย
ผิวเยื้อหอมยังอยู่ ผิวเยื้อหอมนั้นมีลักษณะเหมือนฟิล์มบางๆมีความมันฉาบอยู่บนผิวพระอีกชั้นหนึ่ง แต่เมื่อพระนั้นผ่านการใช้หรือถูกสัมผัสผิวเยื้อหอมนั้นก็จะหมดไป สิ่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกถึงความสมบูรณ์ของพระองค์นั้น
พระองค์นี้กดพิมพ์ติดค่อนข้างชัดเจนสมบูรณ์ พระกรรณด้านขวามือองค์พระติดชัดเจน ด้านซ้ายเห็นลางๆ ส่วนมวลสารพอเห็นอยู่บ้างเพราะผิวยังไม่เปิดและมีคราบแคลเซียมบดบังอยู่ พูดถึงเรื่องพิมพ์ทรง พระองค์นี้ไม่ใช่พิมพ์ของ
หลวงวิจาร เจียรนัย ถึงแม้กรอบกระจกด้านซ้ายมือองค์พระจะมาชนซุ้มผ่าหวายตามแบบพิมพ์นิยมก็ตาม ฝีมือการแกะพิมพ์ของหลวงวิจาร นั้นมีเอกลักษณ์หลายๆอย่าง ถ้าเป็นภาษาช่างเขียนก็เรียกว่าเห็นทีแปรงก็จำได้
ว่าเป็นงานของใคร งานหลวงวิจารนั้นยกตัวอย่างไว้ให้บางส่วนเพื่อเก็บไว้พิจารณาเล่นๆคือ ๑.พิมพ์ของหลวงวิจาร นั้นจะได้สัดส่วนสวยงามแบ่งครึ่งองค์พระซ้าย-ขวาสัดส่วนเกือบจะเท่ากัน ๒.พระพักตร์ส่วนใหญ่เป็นลักษณะผลมะตูม
๓.วงแขนซ้าย-ขวา จะมีลักษณะคล้ายตัว U คือต้นแขนตั้งแต่หัวไหล่ถึงข้อศอกเกือบเป็นเส้นตรง จากข้อศอกลงมาจะเป็นเส้นโค้งคล้ายตัว U ๔.เกศพิมพ์ของหลวงวิจาร แกะนั้นดูด้านข้างจะเห็นว่างอนขึ้นพาดซุ้ม
จะไม่เป็นเส้นตรงเหมือนองค์นี้ เอาองค์รวมๆประมาณนี้ครับบอกมากไปเดี๋ยวจะสับสน ส่วนเรื่องกรอบกระจกที่แล่นลงมาชนซุ้มนั้น พิมพ์แรกๆของหลวงวิจารก็ไม่ได้ชนซุ้ม เพราะฉะนั้นจะยึดเป็นข้อตายตัวสำหรับพิมพ์
ของหลวงวิจารไม่ได้ แต่ถ้าซื้อ-ขายก็ต้องยึดตามนั้นนะครับ อย่าไปแก้กฎกติกาของเขา ก็ลองสังเกตกันดูนะครับ ส่วนเรื่องตำหนิเล็กๆน้อยๆในองค์พระ รวมถึงขนาดต้องเป๊ะนั้น ผู้เขียนไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ
เพราะพระเนื้อผง ไม่ใช่เหรียญ ผสมผงแต่ละครั้งมวลสารที่ใส่มากน้อยต่างกัน การหดตัวก็ย่อมต่างกัน พระทำพร้อมกันครกเดียวกันเก็บต่างสถานที่ ต่างสภาพอากาศองค์พระก็จะต่างกัน ผู้เขียนจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องนี้นัก





พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ ปางทรมานกาย

วันนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศมาดูพิมพ์พิเศษกันบ้าง ตามที่เคยบอกไว้ว่าท่านสร้างพระไว้มากมายหลายพิมพ์ หลายวาระ ถ้าเปิดใจให้กว้างศึกษาไม่จบสื้น พระองค์นี้เป็นปางทรมานกาย หรือปางพระพุทธเจ้าบำเพ็ญทุกข์กิริยามีลงไว้ในหนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต เขียนโดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน ตีพิมพ์ประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๗ หน้า๒๔๐ พระองค์นี้เป็นฝีมือช่างหลวงแกะพิมพ์แน่นอน และฝีมือไม่ธรรมดา อาจเป็นฝีพระหัตถ์ของ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ก็เป็นได้อันนี้ไม่มีหลักฐานแค่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวเพราะมีข้อมูลว่า ท่านแกะพิมพ์พระได้สวยงามมากและองค์พระจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งพระองค์นีัมีขนาดประมาณกล่องไม้ขีด ท่านสิ้นพระชนม์วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๐๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยส่วนตัวชอบพระชงฆ์ (ขา) ที่พริ้วอ่อนช้อยสวยงาม ถ้าเป็นศัพย์ช่างศิลปเรียกได้ว่า เป็นเส้นที่หวานอ่อนช้อย คือเส้นที่พริ้วไม่สะดุด พื้นผนังพระมีการยุบตัวแบบผิวมะกรูด ส่วนเนื้อพระองค์นี้เป็นพระเนื้อหนึกแกร่ง ละเอียด แสดงถึงความปราณีตตั้งใจในการทำ ส่วนด้านข้างใช้ของมีคมตัดตามแบบช่างสิบหมู่ พระพิมพ์นี้เป็นพระที่หาดูได้ยาก ใครได้เจอที่ใดราคาโดนใจก็ขอให้รีบเก็บไม่ต้องลังเล ส่วนองค์นี้ให้แค่ชมครับ

 

เพิ่มคำอธิบายภาพ

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม พระองค์นี้เป็นฝีมือช่างหลวงแกะพิมพ์ เนื้อผงผสมข้าวสุกเนื้อแห้งมากผู้เขียนได้มานานมากแล้ว น่าจะไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปีได้มาก็เก็บไว้ไม่เคยนำมาแขวนเลย เนื้อจึงแห้งมากพระองค์นี้ถ้าได้ผ่านการใช้สักระยะ เนื้อจะฉ่ำสวยงามให้สังเกตุมุมบนและล่างด้านขวามือเรา ส่วนที่โดนสัมผัสบ่อยๆเนื้อจะดูฉ่ำนุ่มตา แล้วถ้าเนื้อกลับเป็นอย่างนั้นทั้งองค์คงงามมาก และพระเนื้อลักษณะนี้เมื่อผ่านการใช้ไม่นานเนื้อจะกลับเร็วเพราะเนื้อละเอียดปานกลาง ส่วนขอบนอกต้ดไม่หมดมีเนื้อเกินล้นออกมา ลักษณะคล้ายพระรอดมีปีก ดูโดยรวมแล้วพระองค์นี้เป็นพระที่มีธรรมชาติสวยมากองค์หนึ่ง





วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พระผงสุพรรณหรือเดิมเรียก "พระผงเกสรสุพรรณ" สร้างในสมัยพระยาศรีธรรมโศกราช สร้างโดยฤษีสี่ตนมีฤษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน เป็นพระเนื้อดินละเอียดหรือดินกรองผสมผงเกรและว่านชนิดต่างๆ ซึ่งน้ำว่านนอกจากให้คุณทางด้านความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีสรรพคุณในการช่วยยึดเนื้อพระให้คงทนถาวรมากขึ้น พระองค์ใดมีน้ำวานผสมอยู่มากและไม่โดนความร้อนมากนัก จะมีน้ำว่านออกมาปกคลุมผิวคล้ายฟิล์มบางๆเรียก "พระแก่ว่าน" พระผงสุพรรณมีอายุการสร้างมาหลายร้อยปีย่อมเกิดความเหี่ยวย่นบนเนื้อพระ และส่วนใหญ่จะปรากฏรอยเสี่ยนไม้ตามร่องพื้นแทบทุกองค์ ไม่มากก็น้อย แต่ที่สำคัญคือความเหี่ยวของเนื้อพระต้องมีครับ