วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ปรกโพธิ์



พระองค์นี้เป็นพิมพ์ของหลวงสิทธิ์ มีจุดสังเกตคือนอกจากแกะพิมพ์ได้สัดส่วนแล้ว พระพิมพ์ปรกโพธิ์ฝีมือหลวงสิทธิ์ส่วนใหญ่จะนั่งขัดสมาธิสองชั้น และเท้าซ้ายขององค์พระยื่นลงมาชนเส้นแซมใต้ตัก หรือเส้นอาสนะ ซึ่งช่างท่านอื่นจะแกะลักษณะหน้าตักราบตรงทั้งสิ้น เท่าที่พบมีพิมพ์เดียวที่หลวงสิทธิ์แกะแม่พิมพ์หน้าตักราบตรง คือพิมพ์ปรกโพธิ์ ๙ ท่านแกะไว้มีทั้งหน้าตักราบตรง และเส้นเท้าซ้ายยื่นลงมา

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ปรกโพธิ์




วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ

พูดถึงพระสมเด็จกรุบางขุนพรหม ก็สวยไปอีกแบบ มีคราบกรุทำให้พิจารณาได้ง่ายขึ้น คราบกรุนั้นแบ่งออกได้เป็นห้าชั้น สำหรับพระที่ลงวันนี้เป็นกรุชั้นที่สอง




วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระกริ่งปวเรศหน้าจีน พิมพ์พิเศษ พ.ศ.๒๓๙๔


พระกริ่งปวเรศปีพ.ศ.๒๓๙๔ ที่พบนั้นมีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน และเป็นเนื้อสัมฤทธิ์เดชแทบทั้งสิ้น สิ่งที่น่าสังเกตุคือจะตอกโค๊ตไว้เหนือเข่าขวาเป็นลักษณะวงลีมีใส้ในเป็นลาย คล้ายดอกไม้ แม้แต่พระชัยวัฒน์องค์เล็กก็จะมีเช่นกัน สำหรับพระองค์นี้จะมีภาษาจีนตอกไว้ด้านหลัง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระชุดแรกๆที่สั่งทางประเทศจีนขึ้นแบบแม่พิมพ์ให้



วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระกริ่งปวเรศแบบตั้งบูชา

วันนี้ลงกริ่งปวเรศแบบตั้งบูชาให้ชมอีกองค์ องค์นี้ไม่ตอกลายจีวร ด้านหลังมีโค๊ตเม็ดงา ๙ โค๊ต แต่โค๊ตที่ตอกเม็ดงาอันแรกยังคงอยู่ตำแหน่งเดิม และตอกเพิ่มอีก ๘ โค๊ต



วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระกริ่งปวเรศ ขนาดตั้งบูชา

วันนี้ให้ชมพระกริ่งปวเรศขนาดตั้งบูชา หน้าผากฝังหมุดทองคำ จีวรลายดอก โค๊ตเม็ดงาด้านหลังเป็นแบบของปี พ.ศ.๒๔๓๔ แต่ตอกปลายเอียงขวาเล็กน้อยไม่ตรง พระองค์นี้เป็นเนื้อสัมฤทธิ์เดช






วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์นาคปรก

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์นาคปรก ดูจากโค๊ตเม็ดงาและใส้ในน่าจะสร้างปี พ.ศ.๒๔๓๔ ที่พบมีเจอ มีเปียกทองและไม่เปียกทอง พระองค์นี้เปียกทองมาแต่เดิม ไม่ได้มาทำการเปียกใหม่ในยุคนี้ สังเกตุได้จากตามซอกที่ทองหลุดหายไปตามกาลเวลา