วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567

พระนางเสน่ห์จันทร์ กรุตาเถรขึงหนัง จังหวัดสุโขทัย เป็นพระเนื้อดินแตกกรุจากการบูรณะโบราณสถานสุโขทัย เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๒ที่วัดตาเถรขึงหนัง โดยกรมศิลปากรได้ขุดพบพระกรุนี้เข้าด้วยความบังเอิญ เล่ากันว่าเมื่อกรุถูกเปิดออก ได้มีกลิ่นหอมโชยอบอวลฟุ้งไปทั่วบริเวณ แม้แต่พระเครื่องก็มีกลิ่นหอมทุกองค์ สร้างความแปลกใจแก่คณะที่ขุดพบเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ต่อมาพระพิมพ์นี้จึงถูกขนานนามว่า "พระนางเสน่ห์จันทร์" พระนางเสน่ห์จันทร์ เป็นงานศิลปสุโขทัย พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัยนั่งขัดราบบนฐานเขียง อยู่ในทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีขนาดสูงประมาณ ๓-๓.๒ ซ.ม. กว้าง ๒.๕ ซ.ม. เป็นพระเนื้อดินเผา ปัจจุบันเป็นพระที่มีผู้นิยมสะสมมากองค์หนึ่ง





 

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จสามองค์นี้เป็นพระยุคต้น โดยพิจารณาจากองค์เนื้อผงผสมข้าวสุกเป็นหลัก (พระเนื้อขาวพิมพ์นี้บางกลุ่มเล่นเป็นของกรุวัดยางฝั่งธนบุรี) พระยุคต้นที่พบเนื้อมักแก่ข้าวสุกแบบนี้ และใช้น้ำอ้อยเคียวกับยางไม้เป็นตัวประสาน แม่พิมพ์แกะจากไม้ สำหรับองค์เนื้อหินเขียวกับเนื้อข้าวสุก เป็นแม่พิมพ์เดึยวกัน โดยเนื้อหินเขียวสร้างก่อน แล้วนำแม่พิมพ์มาแต่งให้เส้นซุ้ม และช่วงวงแขนหนาขึ้นเล็กน้อย อาจเป็นการแก้ปัญหาเนื้อติดในร่องแม่พิมพ์เวลากดพระก็เป็นได้.


 

พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนก เนื้อเกสรสีผ่าน กรุวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร เจ้าของสโลแกน "มีกูแล้วไม่จน" พระองค์นี้เป็นพระสวยดูง่าย มีแร่ดอกมะขามกระจายอยู่ทั่วองค์พระ.










 

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

พระตรีกาย หรือพระโมคคัลลาน์ - สารีบุตร เนื้อชินศิลปลพบุรีไม่ทราบกรุ พยายามค้นหาพระพิมพ์นี้แต่ไม่พบ องค์พระประธานเป็นพระนาคปรก แบบพระพิมพ์นารายณ์ทรงปืน ถ้าใครทราบชื่อพิมพ์ที่ถูกต้อง ช่วยบอกด้วยครับ จะขอบพระคุณยิ่ง ความเป็นธรรมชาติของพระองค์นี้ดีดูง่าย มีบางท่านเข้าใจว่าสนิมแดงบนพระเนื้อชินนั้นเกิดจากการเอารักจีนมาทา (ทำเทียมเรียนแบบ) พระเนื้อชินสนิมแดงเกิดจากปรอท (ไม่ใช่ตะกั่ว สนิมตะกั่วสีดำ) สนิมแดงคือออกไซด์ของปรอท เวลาเกิดจะค่อยๆเกิดจึงมีหลากสีที่เกิดก่อน และเกิดหลัง ส่วนรักจีนจะมีสีเฉดเดียว ที่เห็นหลายสีคือน้ำหนักเข้มอ่อนเกิดจากการทา ความหนาบางของรัก และมักพบเม็ดชาดจอแสในรักจีนเป็นจุดสีแดง เพราะรักจีนเกิดจากการเอาชาดสีแดงผสมยางรัก จึงแตกต่างกับสนิมแดงเพราะจะขยายภาพดูยังไงก็จะไม่พบจุดแดงของเม็ดชาด มีคนกล่าวว่าดูพระหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงให้สังเกตจุดแดง แสดงว่าพระองค์นั้นได้ลงรักจีนเอาไว้.










 

พระกริ่งปวเรศสายหน้าจีน ปี ๒๓๙๔ มีโค๊ตที่เข่า ใต้ฐานจารยันต์พุฒซ้อน ตัวอังอยู่ด้านบน ข้างซ้ายจารตัว นะ และ อุ ส่วนด้านขวาไม่ชัด ดูคล้ายยันต์ เฑาะ ทั้งหมดจารแผ่วบางไม่ค่อยชัด




 

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เนื้อกังใส เป็นพระที่ใช้เนื้อดินจากเมือง "อันฮุย" เป็นเนื้อพื้นผสมกับมวลหลักต่างๆของท่าน ดินจากเมือง "อันฮุย" เป็นดินที่สั่งนำเข้าจากจีนเพื่อทำชามเบญจรงค์ เนื้อพระจึงดูผิวละเอียดเนียนและแกร่งถือเป็นเนื้อพิเศษไม่ใช่เนื้อหลัก พูดถึงดินที่เป็นผงผสมพระของท่านสมเด็จโต หลวงปู่คำบันทึกไว้ ๗ อย่างมี ๑. ดินเจ็ดโป่ง ๒. ดินตีนท่าเจ็ดท่า ๓. ดินเจ็ดสระ ๔. ดินกลางใจเมืองเจ็ดเมือง ๕. ดินขี้ไคลเสมา ดินขี้ไคลเจดีย์ ๖. ดินสอขาวหรือดินขาว สำหรับเขียนยันต์ตามสูตรพระเวทย์ ๗. ดินกระแจะปรุงด้วยของหอม ดินเหล่านี้จะถูกบดเป็นผงไว้ผสมพระ แต่จะให้บอกว่าชิ้นส่วนตรงไหนคือดินอะไรคงตอบยาก แม้นจะใช้กล้องขยายกำลังสูงก็ตาม ไม่เหมือนมวลสารอื่นที่ไม่ละลายตัว เช่นเม็ดคราม อิฐแดง ก้านธูป เกสรบัว หรือเม็ดกล้วยเป็นต้น.






 

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พระองค์นี้อยู่ในกลุ่มเนื้อหนึกเหนียวเนื้อพระค่อนข้างละเอียดมีส่วนผสมของข้าวสุกมาก ข้าวสุกที่นำมาสร้างพระสมเด็จนั้นมีสองแบบคือ ๑ นำข้าวสุกไปตากแดดก่อนแล้วนำมาตำให้ละเอียดก่อนนำมาผสมมวลสารต่างๆ เนื้อพระประเภทนี้เมื่อใช้แว่นขยายส่องดูจะพบไตข้าวเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายข้าวสารหักอยู่ในเนื้อพระ ส่วนแบบที่สอง ๒ คือนำข้าวสวยมาตำเลย ตำจนเหนียวแล้วนำมาผสมมวลสารต่างๆ เนื้อพระประเภทนี้จะดูหนึกเหนียวเช่นพระองค์นี้ ส่วนพื้นผนังพระองค์นี้จะมีการแตกลายแผ่วๆกระจายอยู่บ้าง และมีคราบสนิมตังอิ๊วให้เห็นตามซอกพองาม พระอยู่ในสภาพสมบูรณ์






 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พิเศษ เป็นพระยุคต้นที่ท่านสมเด็จโตสร้างขึ้นที่วัดระฆัง