วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จพิมพ์พระแก้วมรกต

พระสมเด็จพิมพ์พระแก้วมรกต ประทับในบุษบก มีฉัตรซ้าย-ขวา พื้นฉากเป็นรูปสามเหลี่ยมลดหลั่นกัน คล้ายภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ด้านหลังมีปลาตะเพียนเงิน ตะเพียนทอง เป็นฝีมือช่างหลวงแกะแม่พิมพ์ได้งามลงตัว พิมพ์พระแก้วมรกต ประทับในบุษบกนี้ที่พบมีอยู่หลายแม่พิมพ์ และสร้างไว้หลายวาระ แต่สำหรับองค์นี้ข้อมูลจากหนังสือภาพ-ประวัติสมเด็จโต ของ พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน ท่านบันทึกไว้ว่าสร้างตอนท่านสมเด็จโตอายุ ๒๙ ปี หรือตรงกับปี พ.ศ.๒๓๖๐ แต่โดยส่วนตัวเข้าใจว่าน่าจะเอาแม่พิมพ์นี้ กลับมาทำอีกในยุคหลัง เพราะดูอายุพระอายุไม่น่าจะเป็นพระยุคต้น น่าจะเป็นพระยุคกลางมากกว่า.



วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เนื้อผงใบลาน

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เนื้อผงใบลาน พระองค์นี้เป็นเนื้่อผงใบลานผสมผงถ่านแม่พิมพ์ แต่มีผงแม่พิมพ์จำนวนไม่มาก ตามที่เคยบอกไว้แล้วว่า พระของท่านสมเด็จโตจะเป็นเนื้ออะไรก็ตาม มวลสารยังคงเหมือนเดิมมากน้อยต่างกัน ตามภาพที่ขยายให้ดูในวันนี้.






วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ"พิมพ์เบญจวัคคีย์"

พระที่ท่านสมเด็จโตสร้างไว้มีมากมาย แต่ถ้าจะแบ่งแยกตามความหมายเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นนั้น จะแบ่งออกได้ ๔ ประเภท คือ ๑. ประเภทล้อพิมพ์โบราณ หรือพระเก่าที่นิยมในยุคนั้น เช่น พระขุนแผน พระนางพญา พระลำพูน พระซุ้มกอ พระรอดเป็นต้น ๒. แบบพิมพ์ที่มีความหมายทาง พุทธประวัติ และเหตุการณ์ในยุคนั้น เช่นพิมพ์ปรกโพธฺ์ พิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร เบญจวัคคีย์ พิมพ์พระประจำวัน พิมพ์แจวเรือ และพิมพ์ลากรถ (รถเจ็กโบราณ) เป็นต้น ๓. พิมพ์ที่ชาวบ้านแกะมาถวาย ซึ่งท่านก็รับไว้มากดพิมพ์ พระเหล่่านี้พิมพ์ไม่ค่อยสวยงาม แต่ดูมีเสน่ห์ในตัว ซึ่งเราจะเรียกพระพวกนี้ว่า "พระพิมพ์ชาวบ้าน" (ส่วนใหญ่จะเป็นพระยุคต้น) ๔. ประเภทประณีตศิลป์ พระพวกนี้จะเป็นงานช่างหลวง แกะพิมพ์วิจิตรงดงาม มีมากแบบตามจินตนาการของช่างที่จะจัดองค์ประกอบ (composition) และใส่ลวดลายประกอบลงไปในแบบพิมพ์ ช่างที่มีฝีมือเป็นเลิศในขณะนั้นคือ เจ้าฟ้าอิสราพงศ์ (ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าองค์เดียวของวังหน้าโดยเป็นราชโอรสของสมเด็จพระปิ่นเกล้า) ท่านทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าช่างสิบหมู่ ท่านสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ.๒๔๐๔ สิริพระชนมายุ ๔๐ พรรษา ต่อมาหลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมากร ต้นสกุลปฏิมากร) ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าช่างสิบหมู่ต่อจาก เจ้าฟ้าอิสราพงศ์ สำหรับพระที่ลงในวันนี้เป็น "พิมพ์เบญจวัคคีย์" ฝีมือช่างหลวง มีขนาดเขื่องกว่าพระสมเด็จทั่วไป ซึ่งอาจเป็นงานของเจ้าฟ้าอิสราพงศ์ ก็เป็นได้.




วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

วันนี้ 22 มิถุนายน 2563 ครบ 148 ปี ที่ท่านสมเด็จโตได้จากไป

รูปหล่อท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อสัมฤทธิ์ (เก่า) ใต้ฐานฝังพระสมเด็จวัดระฆังไว้ 5 องค์ บนสังฆาฏิจารอักขระทั้งผืน หน้า-หลัง.







วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จนางใน





พระลีลาหนังตะลุงเนื้อผงยาจินดามณี ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว

พระลีลาหนังตะลุงเนื้อผงยาจินดามณี ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว พระองค์นี้มีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์มาตรฐานทั่วไปมาก คือมีขนาดใหญ่กว่าพระร่วงหลังลายผ้าเล็กน้อย องค์พระมีความสมบูรณ์มาก ลงรักชาด (รักผสมชาด) ปิดทองสวยงาม.

เช้าสดใส...


วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จเนื้อเทียนชัยผสมผงใบลาน (วัดระฆัง)


พระสมเด็จเนื้อเทียนชัยผสมผงใบลาน (วัดระฆัง) ดูจากพิมพ์ใช้แม่พิมพ์ไม้ ฝีมือช่างชาวบ้าน จึงสรุปได้ว่าพระองค์นี้เป็นพระยุคต้นครับ.


วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พระพิมพ์พิเศษชุนแผนเนื้อผง (วัดระฆัง)

พระพิมพ์พิเศษชุนแผนเนื้อผง (วัดระฆัง) พระพิมพ์นี้ท่านแฉ่ง (เกศาโร) แห่งวัดสะตือ (มาเรียนพระธรรมที่วัดระฆัง) เป็นผู้เอาพิมพ์พระพิมพ์นี้ มาพิมพ์เนื้อผงของท่านสมเด็จโตเอาไปอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๓ เป็นหลังเรียบครึ่งย่าม และหลังเป็นพิมพ์กุมารครึ่งย่าม (จากบันทึกหลวงปู่คำ) ภายหลังหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท ได้นำพระพิมพ์นี้มาถอดพิมพ์แล้วสร้างขึ้นใหม่เป็นพระเนื้อกรองเหมือนกัน ซึ่งอายุพระธรรมชาติความเก่าจะต่างกัน และพระที่สร้างเก่าจะมีความหนา และอูมกว่าขุนแผนหลวงพ่อกวย








วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อหนึกแกร่ง







พระสมเด็จตราแผ่นดิน

พระสมเด็จตราแผ่นดิน เนื้อผงพุทธคุณ เนื้อหาสวยงาม มีพระสมเด็จ(องค์เล็ก) ไว้ตรงกลาง และมีผงพุทธคุณของท่านสมเด็จโตผสมอยู่ แต่พระพิมพ์นี้ไม่ทันท่านสมเด็จโต เพราะตราแผ่นดินนี้ ร.๕ ท่านมอบหมายให้ หม่อมเจ้าประวิช (ต๋ง) ชุมสาย ในกรมขุนราชสีหวิกรม เป็นผู้ออกแบบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งตรงกับปีฉลองครองราชครั้งที่ ๒ ของท่าน ในขณะนั้นท่านสมเด็จโตได้มรณะภาพไปก่อนแล้วหนึ่งปี คือปี พ.ศ. ๒๔๑๕ เพราะฉะนั้น พระองค์ใดที่มีตราแผ่นดิน พระองค์นั้นจะไม่ทันท่านสมเด็จโต.

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ เนื้อหินเขียว

พระองค์นี้เป็นพิมพ์พิเศษ เป็นเนื้อหินเขียวมีน้ำหนักมากกว่าเนื้อผงทั่วไป เนื้อนี้คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้เห็น เนื้อหินเขียวนี้เท่าที่ค้นข้อมูลได้จากหนังสือ พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวงเขียนโดย "มัตตัญญูู" ข้อมูลกล่าวว่า เนื้อหินเขียวนี้ได้มาจากลังกา ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ปีพ.ศ.๒๓๕๗ ท่านได้ส่งสมณฑูตไปลังกา ทางลังกาได้ถวายหินเขียวพร้อมไม้โพธื์ ต้นที่สืบต่อมาจากต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาด้วย แต่ไม่มีบันทึกว่า ท่านสมเด็จโตท่านได้ของ ๒ สิ่งนี้มาได้อย่างไร หินเขียวนี้น่าจะมีความเกี่ยวพันธ์กับพุทธศาสนา แต่ไม่มีข้อมูลใดบันทึกไว้ มีบันทึกไว้แต่ไม้โพธิ์เท่านั้น พูดถึง "ไม้ไก่กุก" ที่พบในพระสมเด็จบางองค์นั้น ความจริงคือไม้โพธิ์ที่ได้มาจากลังกานี้เอง ไม่ใช้ไม้ไก่กุกที่อยู่ตามพื้นดินอย่างที่หลายท่านเข้าใจ ส่วนพระพิมพ์นี้เป็นงานฝีมือของราชสำนัก.




พระสมเด็จพิมพ์เจ็ดชั้นพิมพ์กลาง (วัดไชโยวรวิหาร)