วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม พระองค์นี้เป็นพระยุคปลาย สภาพสมบูรณ์ มีคราบแคลไซต์ชัดเจน มีชิ้นไม้ที่เรียกกันว่า"ไม้ไก่กุก" แต่โดยส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่ "ไม้ไก่กุก" ซึ่งเป็นเศษไม้ที่ไก่ตัวผู้จิกเพื่อล่อตัวเมียให้เข้าหา ได้พบข้อมูลจากหนังสือ "พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวง" เขียนโดย "มัตตัญญู" ได้เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า "ในปี พ.ศ.๒๓๒๑ และคำจารึกในความต่อมาแจ้งว่า ได้นำหินเขียวและไม้โพธิ์มาจากลังกาในสมัย ร.๒ มาสร้างพระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า" สำหรับไม้โพธิ์นี้เป็นต้นเดียวกับหน่อเนื้อต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสรู้ ซึ่งทางลังกาส่งมาถวายร.๒ ตอนส่งพระธรรมฑูตไปลังกา แลัวไม้โพธิ์นี้รวมทั้งหินเขียวได้ตกมาอยู่กับท่านสมเด็จโต ซึ่งเศษไม้ในพระสมเด็จนั้น คงไม่ใช่ไม้ไก่กุกอย่างที่คาดเดากันมาตลอด เศษไม้นี้จะพบในบางองค์เท่านั้นไม่ได้พบในทุกองค์ นานๆจึงจะพบสักองค์ ใครมีพระสมเด็จที่มีเศษไม้นี้ถือว่าท่านโชคดีครับ.







 

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกผายเอวผาย สภาพพิมพ์คมชัดลึก แต่ไม่สมบูรณ์มีกระเทอะด้านหลัง เกิดจากความแห้งของเนื้อพระเอง เป็นพระที่ไม่ได้ผ่านการใช้ ถ้าพระครกนั้นใส่ตัวประสานเนื้อน้อยก็มีโอกาสที่พระจะแตกหักเองได้ ถ้าไม่ได้นำมาใช้เลย ความชื้นในเนื้อพระจะระเหยออกไปเรื่อยๆทำให้พระเกิดการกระเทาะได้ บางองค์แตกทั้งองค์ก็มี ถ้าพระที่ใช้บ้างหรือใช้ประจำในเนื้อพระจะมีความชื้น ก็จะไม่เกิดปัญหานี้ เพราะฉะนั้นต้องหมั่นตรวจเช็คพระของเราเมื่อมีโอกาสครับ.







 

พระเชียงแสนเนื้อว่านใช้ยางไม้เป็นตัวประสาน สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ปัจจุบันได้เปลี่ยนมือไปแล้ว)







วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พิเศษ (พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่ว) พระพิมพ์นี้มีอยู่หลายพิมพ์ สำหรับองค์นี้เป็นพระยุคกลางเนื้อผงผสมข้าวสุกและปูนเปลือกหอย ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสานเคยลงรักมาก่อน เมื่อใช้กล้องขยายกำลังสูงดู พบแคลไซต์ขึ้นหนา มวลสารมีไม่มาก และพบวัตถุคล้ายเส้นไหม ตัววัตถุนี้ได้พบมานานแล้วแต่ไม่เคยนำมาเขียน โดยส่วนตัวยังไม่ทราบว่าคืออะไรสันนิษฐานว่า เป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง เมื่อประมาณ ๑๙ ปีก่อนผมใช้กล้องจุลทรรศน์ขยายดูเนื้อพระสมเด็จ ดูครั้งแรกไม่พบเส้นไหมนี้ แต่เมื่อนำพระไปล้างน้ำแล้วกลับมาส่องอีกครั้งได้พบเส้นไหมนี้เกิดขึ้น เป็นแบบนี้อยู่หลายครั้ง บางที่เกิดรวมกันเป็นก้อน เมื่อขยับไฟเข้าใกล้เส้นไหมนี้โดนความร้อนก็ไหม้ละลายหายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเส้นไหมที่ว่านี้ได้พบในพระกรุเนื้อชินเช่นกัน ถ้าเป็นเส้นไหมจริงคงใส่ลงไปหลอมกับพระโลหะไม่ได้แน่ จึงคิดว่าน่าจะเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง เหตุที่นำเรื่องนี้มาเล่าเพราะมีบางท่านว่าพระที่มีเส้นไหมนี้อยู่ในเนื้อฟันธงได้ว่า พระองค์นั้นแท้ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าสักวันเราคงทราบว่ามันคืออะไรกันแน่.







 

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษพิมพ์จันทร์ลอย ขนาดประมาณเหรียญบาทแต่หนา ที่เคยพบเห็นมีอยู่หลายพิมพ์ พระองค์นี้น่าจะเป็นพระยุคกลางตอนปลายเพราะยังใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสานเนื้อ