วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม ยุคปลาย เนื้อพระะค่อนข้างละเอียด ผิวแตกลายสังคโลก มวลสารในเนื้อพระน้อย ต่างจากพระยุคต้นและยุคกลาง พระยุคปลายเป็นพระที่มีพุทธลักษณะสวยงาม แต่เนื้อหามวลสาร จะน้อยกว่าพระยุคต้น และยุคกลาง พระยุคปลายที่มีมวลสารมากจึงเป็นพระที่หายาก.









 

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อผงคลุกรัก และเนื้อผงพุทธคุณ ทั้งสององค์ได้ลงรักปิดทองมาแต่เดิม.



 

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ไก่หางพวง วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา พระพิมพ์ไก่หางพวงเป็นพิมพ์ที่นิยมสูงสุดใน ๖ พิมพ์ มี ๑.พิมพ์ไก่ ๒.ครุฑ ๓.หนุมาน ๔.ปลา ๕.เม่น และ ๖.นก แต่ละพิมพ์ก็จะมีแยกย่อยออกไปอีก เนื้อพระของท่านทำจากดินขุยปู และดินนวล ซึ่งเป็นดินพื้นที่ มีเม็ดทรายเล็กๆปะปนอยู่ มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งจะเห็นอยู่ตามผิวพระ โดยเฉพาะพระที่ผ่านการใช้มาแล้วจะเห็นชัด ส่วนสันด้านบนองค์พระ จะบรรจุผงวิเศษเอาไว้ แล้วอุดด้วยปูนเปลือกหอย ไม่ได้ใช่ปูนซิเมนต์อย่างที่สอนกันมา พระของท่านเริ่มสร้างเป็นพิมพ์มาตราฐาน ราวปี พ.ศ.๒๔๖๐ ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สิริอายุรวม ๖๓ ปี พรรษาที่ ๔๒










 

วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อว่านสบู่เลือด สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๐ เพื่อแจกให้ทหารที่ไปรบกับเงี้ยวโดยเฉพาะ ส่วนพระที่เหลือท่านให้พระยากลาโหม นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ทอง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทั้งหมด พระชุดนี้จึงเป็นพระหายากในยุคนั้น เพราะท่านไม่ได้แจกบุคคลทั่วไป หลังจากรบกันอยู่หลายปี ทหารไทยได้รับชัยชนะกลับมา และได้เล่าขานถึงพระชุดนี้ว่า เรื่องคงกระพันเป็นเลิศ จึงเป็นที่ต้องการของหนุ่มๆในสมัยนั้น แต่ก็หาพระได้ยากเพราะพระได้ถูกนำไปบรรจุไว้ในกรุหมดแล้ว คนในยุคนั้นเรียกพระชุดนี้ว่า "พระสมเด็จแดงกวนอู"