วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ

เดิมทีพระพิมพ์นี้สมัยท่านสมเด็จโตจะเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์เจดีย์" ต่อมาในยุคของท่านจอมพลถนอม ได้สร้างล้อพระพิมพ์นี้ขึ้นและเป็นที่นิยมของคนยุคนั้น รวมทั้งท่านจอมพลถนอมได้แขวนพระพิมพ์เจดีย์นี้ด้วย คนยุคหลังเลยเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์ยอดขุนพล" มาจนทุกวันนี้



วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษองค์นี้เป็นฝีมือช่างหลวง แกะแม่พิมพ์ปราณีตวิจิตร องค์ค่อนข้างเขื่องเนื้อละเอียดแกร่งสวยงามมาก




พระพิมพ์นี้ท่านน่าจะทำถวายร.๔ (ในความคิดของผู้เขียน) เพราะรัชกาลที่๔ท่านมีนามเดิมว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ" ส่วนเนื้อพระเป็นพระยุคกลางคือแก่ข้าวสุกและใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสาน ฝีมือช่างหลวงแกะพิมพ์ พระได้ลงชาดและปิดเงินเปลว การลงชาดแดงจะทำถวายเฉพาะในวังหรือเชื้อพระวงศ์เท่านั้น ด้านหลังองค์พระมีรอยจารด้วยมือ พระเหล่านี้จะพบเห็นได้ยากมากเป็นของดีมีคุณค่าที่ถูกลืม อย่างน่าเสียดาย






วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ เป็นวันมรณภาพของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ครบ ๑๔๕ ปี



๒๒ มิถุนายน วันมรณภาพท่านสมเด็จโต

๒๒ มิถุนายน วันมรณภาพท่านสมเด็จโต ในวันพรุ่งนี้จะครบรอบ ๑๔๕ ปี ที่ท่านสิ้น หลวงปู่คำเล่าว่า ท่านโตได้เขียนวันตาย (มรณ) ไว้ตรงที่ข้างฝาห้องของท่าน โดยเอากรอบรูปใหญ่ปิดเอาไว้ มีใจความว่า ฉันต้องลาญาติโยมไปตามกฏแห่งกรรม ทุกๆ คนก็ต้องเป็นอย่างนี้ "ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น" และทุกๆคนต้องพบกับมันเข้าในวันใดวันหนึ่ง ฉะนั้นฉันจะขอลาญาติโยมที่ให้ความอุปการะฉันมาตลอดชีวิตนี้ ฉันจะจากไปเวลาเที่ยงคืนของคืนวันศุกร์ ติดกับคืนวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๓๔ นี้แน่นอน สื่งใดที่เป็นความดีฉันขอมอบให้โยมทุกๆ คน และขอให้ผลบุญจงรักษาญาติโยมทุก ๆ คนเทอญ นี่เป็นคำที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ได้เขียนไว้ที่ข้างฝาห้องของท่าน โดยเอากรอบรูปใหญ่ปิดไว้เป็นเวลาหลายปี จนเณรช่วงได้เข้าไปทำความสะอาดห้องของท่านได้กวาดหยักใย่ไปโดนกรอบรูปตกลงมาจึงพบข้อความที่ท่านได้เขียนเอาไว้ ถึงวันมรณภาพของท่าน แต่เณรช่วงไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง จนกระทั่งท่านโตได้มรณภาพแล้วจึงได้บอกให้พระปลัดมินศร์ฟัง ทีแรกไม่เชื่อเลยพาไปดูที่ห้องและเอากรอบรูปออกดู จึงรู้ความจริงว่าท่านโตได้เขียนไว้จริงเป็นลายมือของท่านเอง (หลวงปู่คำบันทึกว่าท่านมรณภาพที่วัดระฆัง ซึ่งน่าเชื่อถือเพราะท่านอยู่ในเหตุการณ์ และท่านได้บันทึกเหตุการณ์ของเช้าวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ ไว้ด้วย หลวงปู่คำเล่าว่าท่านสมเด็จฯโตได้บอกกับพระลูกวัดให้เตรียมตัวจัดงานใหญ่ครั้งสุดท้ายของท่าน เมื่อพระลูกวัดถามว่างานอะไร ท่านไม่ตอบ บอกเพียงว่า ถึงเวลาแล้วก็จะรู้เอง) พระราชทานเพลิงพระศพ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา จ.ศ. ๑๒๓๕ ตรงกับ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๖ เวลา ๔ โมงเย็น หรือ ๑๖.๐๐ น. พระอัฐิป่นกลายเป็นผงขี้เถ้าหมด


วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง


พระปิดตาแร่บางไผ่หลวงปู่จัน วัดโมลี


ราหูอมจันทร์ หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ของท่าน ส่วนใหญ่จะแกะจากกะลาตาเดียว เป็นทรงรูปเสมา มีหูในตัวและไม่มีหู ในรูปเสมาแกะสลักเป็นรูปราหูอมจันทร์ บริเวณขอบโดยรอบ แกะป็นรูปพญานาค ส่วนลายที่ใต้ราหูนั้นจะแตกต่างกันไป ช่างแกะฝีมือประณีต ส่วนด้านหลังลงเหล็กจาร เป็นอักขระขอมลาว ที่อ่านได้คือ นะ๑๒ โม๒๑ ด้านล่างมีจารตัวพุทธ ใต้ตัวพุทธมีจาร ฤๅ หัวเข้า แต่ถ้าเป็นตัว ฤๅ หัวออกและมีจารใบพัดจะเป็นของหลวงพ่อปิ่นลูกศิษย์ของท่าน อักขระการจารของหลวงพ่อน้อย จะจารตามฤกษ์ในขณะที่เกิดสุริยคราสและ จันทรคราส แล้วท่านจะนำราหูไปปลุกเสกอีกครั้งก่อนที่จะแจกให้แก่ลูกศิษย์ ราหูอมจันทร์หลวงพ่อน้อยเชื่อกันว่า มีพุทธคุณทางด้านป้องกันคุณไสย เสนียดจัญไร และคงกระพันชาตรี มีเมตตามหานิยมในตัว นอกจากราหูที่สร้างจากกะลาตาเดียวแล้ว ยังพบราหูเนื้อเงินและเนื้องา ที่ลงไว้นี้เป็นเนื้องา สำหรับวัดศีรษะทองเป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอนครชัยศรี พื้นที่โดยรอบเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมา ตั้งหลักแหล่งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าอาวาสรูปแรก คือ หลวงพ่อไตร เป็นชาวลาวเวียงจันทน์ ท่านเป็นผู้เริ่มสร้างราหูอมจันทร์ของวัดศีรษะทองเป็นรูปแรก




วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อชินเงิน

พระองค์นี้เป็นพระวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่อกร่องเกศทะลุซุ้ม เนื้อชินเงิน ซึ่งเคยเล่าไว้แล้วว่าท่านสมด็จโตนั้น ท่านได้สร้างพระไว้หลากพิมพ์ หลายเนื้อมาก แต่ปัจจุบันจะรู้จักเล่นหากันเฉพาะเนื้อผงพิมพ์ของ หลวงวิจาร เจียรนัย เท่านั้น ผู้เขียนก็จะพยายามนำพระและพิมพ์ต่างๆมาให้ชมกัน ตามแต่โอกาส เพราะพระเหล่านี้คนส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก และไม่ทราบรวมทั้งหาชมยาก หรือบางท่านอาจมีอยู่ในครอบครองแต่ไม่ทราบว่าใครสร้างก็จะได้ทราบ ส่วนพิมพ์นิยมนั้นสามารถหาดูได้ทั่วไป ส่วนเนื้อหาข้อมูลต่างๆนั้นก็ขอให้ดูและอ่านอย่างมีสติ ไม่จำเป็นต้องเชื่อทั้งหมด ผู้เขียนเพียงพยายามนำเสนอในสิ่งที่เจอ สิ่งที่ทราบมาเล่าสู่กันฟัง ให้เป็นอีกมุมมองหนึ่งตามประสาคนที่นับถือท่านสมเด็จโต และรักสะสมสิ่งที่ท่านสร้างไว้ด้วยศรัทธา (พระสมเด็จเนื้อชินเงินนี้ ที่พบเห็นมีทั้งปิดทองและไม่ปิดทอง)







พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สภาพเก่าเก็บ


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ทรงล่ำ เป็นพิมพ์นิยมที่พบเห็นไม่บ่อยนัก


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์




วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกวี


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เส้นด้าย


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เส้นด้าย ช่วงที่ผ่านมาทางวงการพระบอกว่าพระพิมพ์เส้นด้ายมีฉะเพราะที่กรุวัดบางขุนพรหมเท่านั้น ของวัดระฆังไม่มี แต่ความเป็นจริงแล้วพระพิมพ์เส้นด้าย ได้สร้างที่วัดระฆังมาก่อนนานแล้ว และมีอยู่หลายแม่พิมพ์แต่ไม่เป็นที่นิยม ซึ่งหลวงปู่คำได้บันทึกไว้ว่า พระพิมพ์เส้นด้ายไม่นิยมทำกันเพราะแม่พิมพ์มีเส้นที่เล็ก เวลากดเนื้อลงไปในแม่พิมพ์เนื้อมักไปอุดในร่องพิมพ์ทำให้แม่พิมพ์ตัน จึงให้ต้องนำแม่พิมพ์ไปล้างบ่ายๆเลยซึ่งไม่สะดวกในการทำจึงไม่เป็นที่นิยม ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้พระพิมพ์เส้นด้ายของวัดระฆังมีจำนวนน้อย พวกพ่อค้ายุคก่อนหาไม่ได้เลยเหมารวมว่า พระพิมพ์เส้นด้ายของวัดระฆังไม่มี




วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระสมเด็จตวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกวี แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกวี เนื้อเทียนชัยผสมผง


สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ เป็นพิมพ์โพธิ์๘ คือมีใบโพธิ์ข้างละ๘ใบ แกะแม่พิมพ์โดยหลวงสิทธิ์ ท่านสมเด็จโตได้สร้างไว้ตอนอายุ ๖๐ ปีตรงกับปีพ.ศ.๒๓๙๐ ในปีนั้นท่านได้สร้างพระพิมพ์ปรกโพธิ์ ๘ ไว้หลายพิมพ์ ขณะนั้นท่านครองสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวีศรีวิสุทธินายก


พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม (ฝากกรุ)