วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อก้นครก

พระสมเด็จวัดระฆังองค์นี้เป็นพระยุคกลาง ยังใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสานเนื้อพระ เป็นพระเนื้อหยาบหรือเนื้อก้นครก ผ่านการใช้และการล้างมามากพอควรผิวพระได้เปิดออกหมดทำให้เห็นมวลสารชัดเจน พระยุคต้นและพระยุคกลางนั้นจะมีมวลสารหลากหลายและมากกว่าพระยุคปลาย แต่พิมพ์ทรงจะสวยสู้พระยุคปลายไม่ได้ พระองค์นี้เป็นฝีมือการแกะพิมพ์ของช่างสิบหมู่ที่พูดอย่างนี้เพราะช่างชาวบ้านจะแกะพิมพ์ทรงไม่ได้สัดส่วนเช่นนี้ พระพิมพ์นี้ที่ข้อพระกรซ้ายไม่มีชายจีวร คนยุคปัจจุบันจะเรียก "พิมพ์ทรงเจดีย์" แต่ถ้าเป็นของดั้งเดิมจะเรียกว่า "พิมพ์พระประธาน"






ด้านหลังองค์พระจะเห็นคราบตะไคร่ ซึ่งในพระสมเด็จนั้นจะมีผสมอยู่แต่ที่เจอมากคือพระยุคต้นและยุคกลาง ตะไคร่ที่ผสมนั้นมี ๓ อย่างคือ ๑.ตะไตร่เจดีย์ กันภูตผีปีศาจและเสนียดจัญไร ๒.ตะไคร่รอบโบสถ์ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ และกันคนกระทำ แก้ธรณีสาร ๓.ตะไคร่ใบเสมา เป็นมหานิยม เป็นเมตตาและทางแคล้วคลาดดีนัก ในพระสมเด็จจะผสมผงตะไคร่ทั้ง ๓ อย่างนี้เพราะถือเป็นศิริมงคลดีนักแล