พระหูยาน ลพบุรีพิมพ์ใหญ่ (กรุเก่า) มีการรขุดพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี จึงเรียกกันติดปากว่า "พระหูยานลพบุรี" แตกกรุออกมาครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๕ พระชุดนี้จะเรียกกันว่า "พระกรุเก่า" จะแบ่งออกเป็น ๓ พิมพ์คือ พระหูยานพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พระหูยานนอกจากจะพบที่จังหวัดลพบุรีแล้ว ยังได้พบพระหูยานขึ้นมาอีกหลายกรุ เช่นกรุวัดปืน กรุวัดอินทาราม กรุวัดราษฎร์บูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี กรุวัดค้างคาว จังหวัดเพชรบุรีเป็นต้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ มีการแตกกรุออกมาอีกครั้งที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงเรียกพระชุดนี้ว่า "พระกรุใหม่" พระชุดนี้จะมีสภาพสมบูรณ์สวยงาม ส่วนมากจะมีพรายปรอทสีขาวจับอยู่ เนื่องจากพระกรุใหม่นี้ถูกฝังรวมไว้กับพระพุทธรูปบูชาซึ่งเกิดคราบสนิมเขียวตามกาลเวลา คราบสนิมเขียวนี้ได้ลามไปติดในองค์พระหูยานกรุใหม่ด้วย (แต่คงไม่ทุกองค์) จึงกลายเป็นจุดสำคัญในการดูพิจรณาพระหูยานกรุใหม่ พระหูยานนี้ยังได้แบ่งหน้าพระออกเป็น ๒ แบบคือ พระหูยานหน้ายักษ์และพระหูยานหน้ามงคลอีกด้วย. |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น