วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ พระองค์นี้เป็นพระยุคกลาง ลงรักปิดทองมาแต่เดิม รักทองหลุดหายไปเกือบหมด ทิ้งไว้ให้เห็นเป็นบางส่วน เนื้อพื้นส่วนใหญ่แตกลายหนังจรเข้ พูดถึงการแตกลายของพระสมเด็จนั้น มีหลายแบบ ไม่ใช่ว่าเห็นแตกลายก็จะเรียก "แตกลายงา" เสมอไป ถ้าแตกลายเป็นร่องลึกแบบดินแตกระแหงเรียก "แตกแบบท้องนา" แตกเป็นลวดตะข่ายเส้นคมชัดเรียก "แตกไข่ปรอท" ถ้าแตกเป็นลายตาข่ายเส้นตื้นไม่คมชัด เรียก "แตกลายสังคโลก" (แบบรอยแตกของเครื่องสังคโลกเก่า) เป็นต้น สำหรับพระองค์นี้แตกเป็นช่องตะแกรง ดูคล้ายหนังจรเข้ จึงเรียก "แตกแบบหนังจรเข้" ถ้าแตกเป็นลายเส้นเดียวตามยาวจึงเรียก "แตกลายงา" เพราะคล้ายการแตกลายของงาช้าง สาเหตุที่เนื้อพระแตกลายนั้น เกิดจากตัวประสานเนื้อไม่ดีจึงแตก เลยลงรัก ชาด เทือก เอาไว้เพื่อรักษาเนื้อพระ แต่พระก็ยังแตกอยู่ดี และแตกเป็นลายต่างๆที่กล่าวไว้ พระพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพระยุคกลาง เพราะใช้น้ำอ้อยเคี่ยง น้ำผึ้ง ยางไม้ เป็นตัวประสาน.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น