วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

พระพิมพ์ยืนปรกโพธิ์กรุเจดีเล็กบางขุนพรหม จากบันทึกหลวงปู่คำพอสรุปได้ว่าพระพิมพ์นี้สร้างมากกว่าสองวาระ ช่างต่อเรืออู่บางขุนพรหมนอกเป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย ราวปี พ.ศ. ๒๓๖๐ ท่านทำแจกในงานสร้างกุฏิโยมบิดา และมารดา (เป็นศาลสร้างโดยก่ออิฐถือปูนลักษณะเป็นห้องสร้างไว้ที่วัดอินทรวิหารปัจจุบันศาลนี้ไม่อยู่แล้ว) ใครเอาทราย ปูนหิน และน้ำอ้อยที่ผสมปูนขาวฉาบฝาผนังห้องมาให้ ก็จะได้รับพระพิมพ์นี้หนึ่งองค์ แล้วทำอีกครั้งตอนฉลองกุฏิ หลวงปู่คำว่า "พระพิมพ์ยืนปรกโพธิ์นี้มีอานุภาพสูงป้องกันไฟได้ ดูแต่นายเงี๊ยบซึ่งถูกไฟเผาทั้งตัวแต่ไม่เผาถึงหนังเลย" นายเงี๊ยบเป็นคนจีนที่ท่านอุปการะไว้ให้อยู่ที่วัดอินทร แล้วให้พระพิมพ์นี้ติดตัว นายเงี๊ยบเอาผ้าเย็บเป็นถุงใส่พระคล้องคอไว้ วันหนึ่งเป็นคืนที่หนาวจัดนายเงี๊ยบได้ก่อไฟไว้ใกล้ๆกระท่อมแล้วก็ขึ้นนอน พอตอนดึกได้มีลมพัดอย่างแรงพัดเอาเศษไฟที่ก่อไว้เข้าไปในกระท่อมที่มีเศษไม้ที่นายเงี๊ยบผ่าเอาไว้สำหรับต้มน้ำให้ท่านโต เศษเปลวไฟได้ก่อให้เกิดไฟไหม้กระท่อมนายเงี๊ยบ ไฟลุกติอหลังคาจากแล้ว แต่นายเงี๊ยบยังนอนคลุมโปงอยู่ไม่รู้สึกตัว พระและเณรเห็นต่างก็มาช่วยกันดับไฟ เห็นนายเงี๊ยบเอามือปิดหน้ากระโดดออกมาไฟก็ยังติดเสื้อนายเงี๊ยบอยู่ พระที่เอาน้ำมาสาดกระท่อมเห็นนายเงี๊ยบไฟลุกทั้งตัวก็เอาน้ำสาดนายเงี๊ยบให้ไฟดับ ตอนเช้าวันนั้นท่านโตได้ให้เด็กวัดไปซื้อกางเกงจีนให้นายเงี๊ยบ ๓ ชุด พระที่เห็นนายเงี๊ยบโดนไฟไหม้วันนั้นอย่างน้อยก็ต้องไหม้ไปทั้งตัว นี่นายเงี๊ยบเพียงแต่ผิวหนังแดงเป็นผื่นเท่านั้นเอง ใคร ๆ ก็ไปขอพระพิมพ์นี้มาไว้ที่บ้านไว้บูชากันอันตราย หลวงปู่คำยังได้บันทึกไว้อีกว่า "ต่อมาพระพิมพ์นี้ท่านเจ้าคุณพรหมมาได้มายืมพิมพ์ไปพิมพ์พระที่วัดบางขุนพรหมใน และขอเนื้อผงไปสองบาตรเอาไปพิมพ์แล้วพระพิมพ์นี้ก็อยู่วัดบางขุนพรหมใน ท่านโตพิมพ์พระพิมพ์นี้ยังเป็นท่านโตเท่านั้น" เพราะฉะนั้นพระพิมพ์นี้มีทั้งบรรจุกรุ และไม่บรรจุกรุ ส่วนพระที่บรรจุไว้ในเจดีย์เล็กตั้งแต่เมื่อไรไม่ได้บันทึกไว้.






 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น