วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567

พระท่ามะปราง (เงี้ยวทิ้งปืน) เนื้อว่านปิดทองร่องชาด (ไม่ทราบกรุ) สันนิษฐานว่าพระองค์นี้แตกกรุมานานแล้ว คนรุ่นหลังได้นำพระมาปิดทองร่องชาด ซึ่งชาดและทองที่ปิดแห้งซีด แสดงว่าปิดมาเป็นเวลานานมากแล้ว พระท่ามะปรางส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน และชิน ส่วนเนื้อว่านมีน้อย พระท่ามะปรางของจังหวัดพิษณุโลกมีด้วยกันหลายกรุ แต่ที่มีชื่อเสียงและพบครั้งแรกคือที่วัดท่ามะปราง และยังพบตามกรุอื่นๆในจ.พิษณุโลกอีก เช่นกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) กรุวัดสะตือ (พระกรุนี้พิมพ์พระมือตกเลยเข่า) กรุวัดเจดีย์ยอดทอง และกรุวัดอรัญญิกซึ่งเป็นวัดเก่าสมัยปลายสุโขทัย พระท่ามะปรางองค์พระเป็นศิลปแบบสุโขทัย พุทธคุณเด่นมากเรื่องคงกระพัน จนมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "พระเงี้ยวทิ้งปืน"








 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น