วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม ๓

พระองค์นี้เป็นพิมพ์เกศบัวตูมอีกพิมพ์หนึ่ง ซึ่งผ่านการใช้จนผิวเปิดออกหมด ทำให้เห็นเนื้อในชัดเจนเรียกว่าพระดูง่าย ฐานชั้นล่างสุดมีรูเป็นหลุมลึกเกิดจากมวลสารบางตัวที่สามารถย่อยสลายได้ บางตำราว่าเมื่อท่านถวายอาหารพระพุทธแล้ว ท่านจะนำอาหารนั้นมาตากให้แห้ง แล้วนำมาบดผสมกับมวลสารอื่นๆมวลสารเหล่านี้ย่อยสลายได้ มวลสารเหล่านี้ถ้าอยู่บนผิวพระ หลังจากย่อยสลายไปแล้วก็จะเกิดรูหรือโพลงตามขนาดของมวลสารชิ้นนั้น แต่ถ้ามวลสารนั้นผสมอยู่ในเนื้อใต้ผิวพระ เมื่อย่อยสลายเราก็จะมองไม่เห็น พระสมเด็จที่สภาพผิวยังไม่เปิดเราจะไม่ค่อยเห็นมวลมากนัก แต่ถ้าผิวเปิดออกแล้วมักเจอมวลสารมากมาย โดยเฉพาะพระยุคต้นและยุคกลาง พระองค์นี้เป็นพระยุคกลางเพราะใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสาน ผู้ที่ชำนาญหรือเห็นพระมามาก(พระสมเด็จแท้) เมื่อเจอพระที่สภาพสวยสมบูรณ์ผิวยังไม่เปิด ซึ่งเป็นพระดูยากสำหรับคนทั่วไป แต่คนเหล่านี้สามารถนึกภาพออกว่าหลังการใช้สภาพพระจะเป็นอย่างไร คนพวกนี้จะได้เปรียบกว่าผู้อื่นจะได้พระสวย แล้วนำมาแขวนให้เนื้อพระฉ่ำเปลี่ยนสภาพ เขาเรียกบ่มพระ บางคนก็เจาะรูที่กรอบพระเพื่อให้ไอตัวผ่านเข้าออกได้ดีขึ้น พระก็จะเปลี่ยนสภาพเร็วขึ้น จากพระดูยากก็จะเป็นพระดูง่ายหลังบ่มเข้าที่แล้ว แต่ถ้าเป็นพระใหม่บ่มเป็นปีก็ไม่เปลี่ยนจะเกิดแต่คราบสีเหลืองเท่านั้น เพราะความชี้นในองค์พระยังมีมากอยู่ต่างจากพระเก่าอายุเป็นร้อยปี ความชื้นในองค์พระเหลือน้อยหรือแทบจะไม่มี เมื่อโดนไอตัวความชื้นก็จะซึมเข้าเนื้อพระโมเลกุลต่างๆที่แห้งอยู่ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เหมือนฟองน้ำที่แห้งผากเมื่อโดนน้ำก็จะเปลี่ยนทั้งสีและขนาดฉันใด พระสมเด็จเก่าก็เป็นฉันนั้น เมื่อพระสมเด็จเปลี่ยนสภาพได้ถ้ามีความชื้นมากเกินไปพระก็จะเปลี่ยนสภาพอีก เรียกว่าพระบวมอันนี้เรื่องจริงคนส่วนใหญ่ไม่รู้ เมื่อพระบวมพวกมืออาชีพก็ต้องไล่เอาความชื้นออก ซึ่งในกลุ่มเขาเรียกว่า "ย่างพระ" ไม่ได้ใส่ตะแกลงย่างไฟแบบย่างปลานะครับ อย่าได้ไปทำเชียว




ขยายมวลสารให้ดูบางส่วน A,เนื้อเทียนที่บูชาพระ B,ผงพุทธคุณต้องมีทุกองค์ C,พระธาตุขาวขุ่น D,ชิ้นส่วนพระซุ้มกอ E,ผงใบลานเผา F,ถ่านก้านธูป G,จุดดำ-จุดแดง ละอองถ่านและละอองอิฐขณะเผาเปลือกหอย H,เม็ดครามหรือหินเขียว I,พระธาตุขาวใส J,ผงเกสรดอกไม้ชนิดต่างๆที่ท่านบดใส่ จะมีสีแดงเข้ม น้ำตาล และดำจะเป็นทรงเหลี่ยมและมีขนาดใหญ่กว่าจุดดำ-จุดแดงในข้อ G