วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พระรอดพิมพ์ใหญ่กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน

พระรอดพิมพ์ใหญ่กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน พระรอดถือเป็นพระที่มีอายุเก่าที่สุดในพระชุดเบญจภาคี คือมีอายุประมาณ ๑,๓๐๐ ปี เป็นพระเนื้อดินขนาดเล็กที่มีพุทธศิลปงดงามมาก ฝีมือช่างละเอียดปราณีตบรรจง พระรอดแบ่งออกได้เป็น ๕ พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อและพิมพ์ตื้น (ในแต่ละพิมพ์มีการแบ่งแยกพิมพ์ย่อยออกไปอีก) ส่วนสีของพระรอดนั้น "ตรียัมปวาย" ได้แบ่งไว้ว่ามีมั้งหมด ๓๓ สี





วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง วันนี้นำมาลงให้ชมอีกองค์ พระของท่านส่วนใหญ่เป็นเนื้อผงคลุกรัก แต่องค์นี้เป็นเนื้อผงไม่คลุกรัก จะเห็นเนื้อสีขาวจากส่วนที่รักหลุดออก.



วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง จังหวัดพิษณุโลก

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง พระองค์นี้ผ่านการล้างมาอย่างหนัก ทิ้งร่องรอยและเรื่องราว ไว้ในซอกบางจุดเท่านั้น พระองค์นี้เป็นพระเนื้อค่อนข้างละเอียด มีแร่และอัญมณีโพล่ให้เห็นเหนือผิวพระอยู่ทั่วไป อัญมณีและก้อนแร่ กรวดจะไม่มีสันเหลี่ยมคม เนื้อของพระนางพญานั้นมีอยู่ ๓ แบบคือ ๑.เนื้อค่อนข้างละเอียด ๒.เนื้อหยาบ และ๓. เนื้อแก่แร่คือจะปรากฏมวรสารเม็ดใหญ่ให้เห็นชัดเจน ส่วนมวลสารในพระนางพญานั้น จะมีโพลงเหล็กไหล (แร่ดอกมะขาม) พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่านใบลาน ทรายเงินทรายทอง เหล็กน้ำพี้ และว่าน ๑๐๘ ส่วนสีก็มีหลายสีเช่น สีดอกพิกุลแห้ง สีอิฐ มอญ สีเขียวหินครก สีดำ สีช๊อกโกแลต (สีน้ำตาลเข้ม) และสีแดงเข้มเป็นต้น ที่สำคัญเนื้อพระต้องมีความเหี่ยวและมีความฉ่ำในตัว.





วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง พระปิดตาของท่านได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย พระของท่านมีเนื้อผงคลุกรัก และเนื้อผงไม่คลุกรัก จุ่มรักและไม่จุ่มรัก แบ่งเป็นพิมพ์ชะลูด พิมพ์ตะพาบ พิมพ์พนมมือหน้าเดียวหลังเรียบ และพิมพ์พนมมือสองหน้า และยังมีพิมพ์ว่าวจุฬาอีกด้วย.



วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พระพิฆเนศวร์ เนื้อสำริดโบราณ

พระคณปติหรือ พระคเณศ หรือพิฆเนศวร์ เป็นเทพเจ้าฮินดู โอรสของพระศิวะมีตัวเป็นคนหัวเป็นช้าง ถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ และเป็นเทพแห่งศิลปวิทยา สำหรับพระพิฆเนศวร์องค์ที่ลงในวันนี้ เป็นพระพิฆเนศวร์เนื้อสำริดกรุเก่า ดูจากศิลปะเข้าใจว่าเป็นของลพบุรี (ถ้าผิดก็ขออภัย) ซึ่งพระพิฆเนศวร์นั้นได้พบเจอในหลายพื้นที่ของประเทศไทย มีทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ พระพิฆเนศวร์ที่ลงในวันนี้เมื่อใช้กล้องขยายกำลังสูง ขยายเนื้อดูได้พบส่วนผสมของทองคำกระจายอยู่ทั่วไปค่อนข้างมาก เนื้อมีความเหี่ยวย่น ธรรมชาติของเนื้อมีความสวยงาม สำหรับพระพิฆเนศวร์ที่เก่าที่สุดในประเทศไทย หรือเก่าที่สุดในเอเชียอาคเนย์ก็ว่าได้ อยู่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ (เสาชิงช้า) กทม. เป้นพระพิฆเนศวร์ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะคุปตะของอินเดีย มีอายุในราวพุทธศตวรรษ์ที่ ๙-๑๑ ใครสนใจก็ไปสักการะบูชาได้ครับ.








พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตพระลีลาเม็ดขนุนได้รับความนิยมอย่างสูง ถูกจัดให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่เนื่องจากความหายากและรูปทรงที่ยาว เวลาจัดเข้าชุดเบญจภาคีจึงดูไม่ค่อยลงตัว ภายหลังจึงได้เปลี่ยนมาเป็นพระกำแพงซุ้มกอแทนซึ่งเป็นพระกรุเดียวกัน พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนเป็นงานศิลปะสุโขทัย แบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก นอกจากพระเนื้อดินผสมว่านแล้ว ยังมีเนื้อชินเงิน และเนื้อว่านบุเงิน บุทอง อีกด้วย




วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้งกรุวัดนางพญา พระนางพญาเป็นพระเนื้อดินผสมว่านบ่มไฟ เหมือนพระผงสุพรรณ และพระกรุกำแพงเพชร พระเหล่านี้จะมีการลงรักก่อนบรรจุกรุ พอมาถึงยุคปัจจุบันรักส่วนใหญ่จะหลุดหายไป บางครั้งก็โดนล้างออกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ธรรมชาติเหล่านี้จะเป็นจุดสังเกตพระแท้ได้เช่นกัน (แต่รักต้องดูแห้งเก่าสมอายุ)
นอกจากรักแล้ว พระกรุยุคเก่าจะแกะแม่พิมพ์ด้วยไม้มงคล และมักจะมีลายเซี่ยนไม้ตามร่ององค์พระ ซึ่งก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ไว้ดูพระแท้ได้เช่นกัน แต่ต้องดูองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วย