วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคกลาง พระองค์นี้เคยลงรักมา ก่อนที่จะถูกล้างออกภายหลัง เนื้อผงผสมข้าวสุก ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวและยางไม้เป็นตัวประสานเนื้อ.








 

พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พระองค์นี้ไม่มั่นใจเรื่องปี พ.ศ.ที่สร้างจึงไม่ขอกล่าวถึง จะขอกล่าวถึงเนื้อพระองค์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อทองผสม (รูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดบางคลานก็เช่นเดียวกัน) พระเนื้อทองผสมนั้นจะสังเกตได้ว่ามีสนิมหลากสี ตามเนื้อโลหะที่ผสมเข้าไป เช่น ๑.สนิมทองสีจะออกแดงและในสีแดงจะมีสีทอง ส้ม แสด แดงอยู่ในนั้น ๒.สนิมสีดำคือสนิมที่เกิดจากเนื้อเงิน ๓.สนิมสีขาวคือสนิมสังกะสี ๔.สนิมสีเขียวคือสนิมของทองแดง (สนิมเขียวจะหลุดง่าย) ตัวสนิมบนพระนั้นสามารถบอกถึงอายุพระได้ และในขณะเดียวกันโอกาสที่พระองค์นั้นๆจะเป็นพระแท้ได้สูง.





 

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคกลาง เนื้อผงผสมข้าวสุก และปูนเปลือกหอย ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวและยางไม้เป็นตัวประสาน พระยุคกลางมักแตกลานเพราะยังไม่ได้ใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน ในเนื้อพระองค์นี้จะมีจุดดำจุดแดงให้เห็นตามทฤษฎีที่ว่า พระสมเด็จจะต้องมีจุดดำจุดแดง แต่ทฤษฎีนี้ใช้ได้เฉพาะพระที่มีส่วนผสมของปูนสุกเท่านั้น ถ้าไม่มีส่วนผสมของปูนสุกก็จะไม่มีจุดดำจุดแดง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าพระองค์นั้นจะปลอม จุดดำจุดแดงเกิดจากตอนเผาเปลือกหอย ละอองถ่านไม้โกงกางจะปลิวฟุ้งปนอยู่กับเปลือกหอยเผา และละอองของเตาที่ก่อด้วยอิฐแดงก็จะฟุ้งผสมปนอยู่ด้วยเช่นกัน จึงเกิดจุดดำและจุดแดงในปูนเผา หรือปูนสุก เมื่อเอาปูนสุกมาสร้างพระสมเด็จ ในเนื้อพระก็จะมีจุดดำและจุดแดง พระองค์ไหนที่ไม่ได้ใส่ปูนสุกผสมก็จะไม่มีจุดดำจุดแดง ถ้ามีก็หลงมาน้อยเต็มที เพราะฉะนั้นพระสมเด็จแท้ จึงไม่จำเป็นต้องมีจุดดำ และจุดแดงจุดแดงเสมอไป.





 

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

พระสมเด็จ ๙ ชั้นอกตลอดพิมพ์พิเศษ ลักษณะคล้ายพิมพ์วัดเกศ หน้าเม็ดพริกไท หูช้าง มีฉ้พรรณรังสี บ่งบอกว่าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นี้ลงรักน้ำเกลี้ยงมาแต่เดิม เป็นพระยุคต้นเนื้อผงผสมข้าวสุก ฝีมือช่างหลวงแกะแม่พิมพ์ เป็นพระที่ห่วงองค์หนึ่งครับ.



 

 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ยุคกลาง ไม่นิยมแต่ดูไม่ยาก พระองค์นี้ไม่สวย เป็นพระที่ท่านสมเด็จโตสร้างไว้ เนื้อหามวลสารอายุพระเป็นตัวบ่งบอก พระของท่านสมเด็จตมีเนื้อหลากหลาย จะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว โดยเฉพาะพระยุคต้น และยุคกลาง พระสองยุคนี้ที่พบเจอแต่ละองค์เนื้อจะต่างกัน เพราะสร้างต่างวาระ เนื้อคนละครก นอกเสียจากเจอเนื้อครกเดียวกันเนื้อก็จะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน (โอกาสน้อยที่จะเจอแต่มี) ในความต่างของเนื้อ จะมีมวลสารหลักที่เหมือนกันเช่น ผงพุทธคุณ เศษพระเมืองกำแพงเพชร เม็ดคราม และพระธาตุขาวใส ขาวขุ่น สีชมพูเป็นต้น ส่วนพระยุคปลายจะเจอเนื้อซ้ำกันมากกว่า คือสร้างไว้เป็นจำนวนมากแล้วเก็บอยู่ในที่เดียวกัน เช่นของที่สร้างปี พ.ศ.๒๔๑๑ พระชุดนี้มาแตกกรุในยุคสมัยของเรานี้ ก็จะเจอพระสมเด็จที่มีเนื้อเหมือนกันอยู่มาก เพราะออกมาจากที่เดียวกัน ในขณะเดียวกันพระโรงงานก็ออกมาเนื้อเหมือนกันทั้งชุด แล้วแต่ล๊อตที่เขาทำก็ต้องสังเกตดีๆ โดยส่วนตัวจะชอบพระยุคต้น และยุคกลาง ส่วนพระยุคปลายเก็บตามค่านิยม.








 

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซมเนื้อเกษร ๑๐๘ หรือเนื้อผิวมะกอกสุก ท่านทำเพียงครั้งเดียวเพราะผงเกษรหมด จากบันทึกหลวงปู่คำว่า "พระเนื้อนี้ผสมด้วยเกษร ๑๐๘ อย่าง ผงนี้เวลาผสมน้ำเกษรจะออกเป็นสีหลายอย่าง รวมกันแล้วสีจะคล้ำๆ พอผสมแล้วเนิ้อพระจะออกสีน้ำตาลอมดำ เป็นรา ๆ เหมือนผิวมะกอกสุก พระเนื้อนี้่ทำครั้งเดียวแต่ทำมาก" และยังบันทีกว่าเป็นเนื้อที่มีส่วนผสมของมวลสารต่างๆมากที่สุด มากกว่าทุกเนื้อ เป็นเนื้อที่หายากมากเนื้อหนึ่ง.