วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระชัยวัฒน์หัวไม้ขีด


วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศมาชมพระองค์เล็กกันบ้าง พระที่ลงวันนี้เป็นพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๔ (บางท่านยุคนี้เรียกพระชัยวัฒน์หัวไม้ขีด) พระชุดนี้สร้างปี พ.ศ.๒๓๙๔ ฉลองรัชกาลที่ ๔ ขึ้นครองราช มีแบบก้นตันและแบบมีกริ่ง มี ๒ พิมพ์คือปางมารวิชัย และแบบปางสามธิ แบบมีกริ่งก้นจะมี ๓ แบบคือปิดด้วยแผ่นทองคำ เงิน และนาค สำหรับพระที่ลงวันนี้เป็นปางมารวิชัย แบบมีกริ่ง เนื้อนวโลหะสัมฤทธิ์เดชก้นปิดด้วยแผ่นทองคำจารพุฒซ้อน สัมฤทธิ์เดช นวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง ๙ชนิด มีดังนี้
๑. ชิน หนัก ๑ บาท ๒. จ้าวน้ำเงิน หนัก ๒ บาท
๓. เหล็กละลายตัว หนัก ๓ บาท ๔. ตะกั่วเถื่อน หนัก ๔ บาท
๕. ปรอท หนัก ๕ บาท ๖. สังกะสี หนัก ๖ บาท
๗. บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก ๗ บาท ๘. เงิน หนัก ๘ บาท
๙. ทองคำ หนัก ๙ บาท




พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์

พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ หรือโบราณเรียกพิมพ์พระประธาน (วัดระฆัง) เป็นฝีมือการแกะพิมพ์ของช่างสิบหมู่ เนื้อพระเป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก (ตากแดด) ผงเกษร ผงใบลาน ผงดำและน้ำอ้อยเคี่ยว สร้างไว้ราวปี พ.ศ. 2378 ขณะนั้นท่านครองสมณศักดิ์เป็นพระครูปริยัติธรรม สภาพสมบูรณ์เก่าเก็บ ซึ่งยังคงเห็นเมล็ดข้าวตากแห้งที่ตำไม่ละเอียดอยู่ตามผิวพระทั่วไป





วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมนั้น เป็นที่รู้จักกันดี และเป็นพระในฝันของกลุ่มผู้นิยมพระเครื่องทั้งหลาย แต่เรื่องรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับพระชุดนี้มักไม่ไคร่มีใครพูดถึง รู้แต่ว่าเสมียนตราด้วงมาขอให้ท่านสมเด็จโตช่วยทำพระไปบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ.2413 เท่านั้น วันนี้จะขอคัดรอกบันทึกบางส่วนของหลวงปู่คำมาให้อ่าน จากหนังสือ "สมเด็จโต" ความว่า "นายด้วง เสมียนตราหน้าพระราชวัง เป็นผู้บูรณะวัดวะรามะตาราม ได้ไปขอร้องท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ให้ช่วยทำพระบรรจุกรุเจดีย์ให้ในราว จ.ศ.1232 หรือ พ.ศ. 2413 แล้วท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้ช่วยทำพระลงกรุบรรจุเจดีย์ตั้งแต่นั้นมาจนเสร็จ
วัดวะรามะตาราม เป็นวัดที่ชาวรามัญได้สร้างไว้ นายเดชเป็นผู้บูรณะวัดแต่ยังไม่เสร็จได้เสียชีวิตก่อน ต่อมานายด้วงเป็นเสมียนตราในพระราชวังภายใน ได้บูรณะต่อจนเสร็จเรียบร้อย มาปรึกษาท่านโตว่าได้สร้างวัดและเจดีย์เสร็จแล้ว ยังไม่มีอะไรบรรจุไว้ในเจดีย์จึงอยากให้มีอะไรบรรจุไว้ในเจดีย์ ท่านโตจึงได้เรียกขรัวตาพลอยมาถามว่า พระที่ทำแจกมีเหลือบ้างหรือเปล่า ให้เอาไปบรรจุในเจดีย์ให้หมด ขรัวตาพลอยบอกว่ามีแต่ไม่มาก ท่านโตบอกให้นายด้วงหาเปลือกหอยกาบมากๆ เอามาเผาแล้วตำให้ละเอียดเป็นผงปูนเปลือกหอย แล้วเอาแม่พิมพ์ที่เหลืออยู่จากวัดระฆัง วัดบางขุนพรหมนอกและวัดอื่นๆมาเพื่อกดพิมพ์ ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นายด้วงก็ได้นิมนต์และกราบเรียนว่าของทุกอย่างได้จัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เลยให้เด็กไปนิมนต์หลวงปู่คำให้ไปฉันเพลที่วัดวะรามะตาราม (วัดบางขุนพรหมใน) ในวันรุ่งขึ้น
พอวันรุ่งขึ้นท่านโตได้ให้ขรัวตาพลอยและปลัดโฮ้เอาผงวิเศษไปด้วย โดยใส่ถุงข้าวไป 5 ถุง ผงเกษร ผงใบลาน ผงดำ อย่างละ 1 ถุง พอได้เวลาพระฉันเพลแล้วพระก็ได้ทำพิธีปลุกเสก ท่านโตได้เอาผงวิเศษ ผงเกษร ผงปูนเปลือกหอย ผงใบลาน ผงดำมาผสมกันในบาตร แล้วผสมด้วยน้ำมันตั่งอิ๊ว ต่อมาอีก 2 วันนำเอาผงที่ผสมไว้แล้วมาให้ชาวบ้านช่วยกดพิมพ์พระ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เวลาพิมพ์พระถ้าเป็นผู้หญิงทำ พระจะสวยงามตัดขอบพระด้วยมีดเจียนหมากแล้วยกแม่พิมพ์ออก ขอบเนื้อพระจะเป็นสันเหลี่ยม ผู้กดพิมพ์พรระส่วนใหญ่จะใช้นิ้วมือลูบที่คมสันให้มนแทบทุกองค์ ถ้าเป็นผู้ชายกดพิมพ์พระเวลาตัดขอบพระ บางคนใช้ก้านธูปกรีดขอบพระแล้วยกแม่พิมพ์ออก แต่ไม่ได้แต่ขอบพระจึงคม บางคนใช้เล็บยาวแทนมีด การรผสมผงพระถ้าู้ใดทำละเอียดผสมผงเข้ากันจนทั่ว เนื้อพระก็จะละเอียดสวยงามเรียบร้อย บางคนผสมหยาบผงไม่เข้ากัน เนื้อพระก็จะหยาบไม่สวยงามแลเห็นเป็นจุดเป็นก้อนทั่วองค์พระตะปุ่มตะป่ำขอบพระจะไม่เรียบร้อย หรือเว้าแหว่งไปบ้างเพราะตัดขอบพระด้วยก้านธูปและเล็บมือ ถ้าผู้หญิงทำพระจะออกมาสวยงามและเรียบร้อย ถ้าผู้ชายทำพระจะไม่ค่อยสวยและหยาบ พระบรรจุกรุนี้มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พอกดพิมพ์พระเสร็จแล้วก็แจกพระกับผู้มาช่วยทำพระทุกคน ที่เหลือก็เอามาบรรจุเจดีย์ก่อเป็น 4 ช่อง ก่อและปิดเสร็จเรียบร้อยเป็นอันเสรร็จพิธี แล้วมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดบางขุนพรหมใน ( ต่อมาอีก 30 ปีได้บูรณะโบสถ์แล้วมาปลี่ยนขื่อเป็น วัดใหม่อมตรสจนปัจจุบัน)


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

ลงพระสมเด็จแบบสภาพสมบูรณ์มามากแล้ว วันนี้ขอลงพระสมเด็จสภาพใช้บ้าง พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระพิมพ์ใหญ่ ยุคกลางผ่านการใช้มาจนสึกผิวเปิดหมดแล้ว และยังโดนล้างจนสะอาด แต่ส่วนที่ดีคือทำให้เห็นมวลสารต่างๆชัดเจนขึ้น เห็นการยุบ แยก เหี่ยว ย่น และการงอกของปูนง่ายขึ้น สรุปว่าพระสภาพนี้ทำให้การพิจรณาได้ง่ายขึ้น







วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์นี้ เป็นพระยุคปลายลงรักปิดทองร่องชาดมาแต่เดิม แต่โดนล้างออกไปบางส่วน ด้านหลังเป็นหลังสังขยาคือมีรูพรุนเล็กบ้างใหญ่บ้าง (texture) คล้ายหน้าขนมสังขยา ส่วนคำว่าลงรักปิดทองร่องชาดนั้น พระองค์นี้หลังจากกดพิมพ์แห้งแล้ว ได้นำมาลงรักดำเมื่อรักดำแห้งดีแล้วก็จะลงชาดทับอีกชั้นแล้วจึงปิดทอง งานแบบนีเป็นงานของช่างสิบหมู่ในวัง ทำเพื่อความสวยงามและรักษาเนื้อพระให้คงทนถาวรขึ้น หากใครมีพระที่ลงรักปิดทองเก่ามาแต่เดิม ควรเก็บรักษาสภาพเดิมไว้ไม่ควรล้างออก ซึ่งเราสามารถพิจารณาความเก่าของพระองค์นั้นได้จากรักทองอีกทางหนึ่ง







วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ กรุวัดบางขุนพรหม

พระพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑองค์นี้ เท่าที่ค้นข้อมูลมาได้คือ นายเจิม วงศ์ช่างหล่อ เป็นผู้แกะพิมพ์ถวายทำพระพิมพ์นี้ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2376 ขณะนั้นท่านสมเด็จโตอายุ 45 ย่างเข้า 46 ปี ครองสมณศักดิ์เป็นพระครูสามัญ สร้างที่วัดระฆัง ต่อมาได้นำแม่พิมพ์นี้กลับมาสร้างอีกครั้งเพื่อบรรจุไว้ที่วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหมใน) หรือวัดวะรามะตาราม ครองสมณสักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จ.ศ. 1232 หรือ พ.ศ. 2413 อายุ 82 ปี พระองค์ที่ลงวันนี้เป็นพระที่สร้างปี พ.ศ. 2413 ในอดีตถูกสอนกันมาว่าพระพิมพ์อกครุฑของวัดระฆังไม่มี มีเฉพาะที่วัดบางขุนพรหมเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว พระพิมพ์อกครุฑนี้มีอยู่หลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ซึ่งสร้างที่วัดระฆังมาก่อนทั้งสิ้น




เหรียญหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์จอบเล็ก

เหรียญหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์จอบเล็ก เป็นพระชุดแรกๆที่ท่านสร้าง แบ่งออกเป็น 3 แม่พิมพ์ คือพิมพ์แข้งติด พิมพ์แข้งตรง และพิมพ์เท้ากระดกสำหรับพระที่ลงวันนี้เป็นพิมพ์แข้งติด คือจะมีเส้นเชื่อมระหว่่างแข้งขวากับเท้าซ้ายนั่นเอง.

เพิ่มคำอธิบายภาพ

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานพิมพ์จอบใหญ่

พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานพิมพ์จอบใหญ่ เป็นเหรียญหล่อที่ได้รับความนิยมสูงไม่ต่างจากพิมพ์อื่นๆ คนพื้นที่สมัยก่อนจะเรียกพระพิมพ์จอบว่า "พระแบน" ส่วนรูปหล่อลอยองค์ทั้งพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา จะเรียกว่า "พระกลม" ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหน ขอให้เป็นพระของหลวงพ่อเงินและแท้ ล้วนเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั้งสิ้น




วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยา

ขุนแผนเคลือบ แตกกรุจากเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยา ซึ่งเจดีย์องค์นี้มีบันทึกในพงศาวดารว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.2135 ตามคำทูลแนะนำของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้วเพื่อเฉลิมพระเกียรติแห่งชัยชนะในการทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า พระเจดีย์องค์นี้ชื่อว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล" ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอยุธยา ตามคติความเชื่อเมื่อสร้างเจดีย์แล้ว จะสร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วยเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างพระขุนแผนเคลือบบรรจุไว้ในครั้งนั้น โดยมีพระพนรัต วัดป่าแก้วเป็นเจ้าพิธี จะขอคัดข้อความจากแผ่นจารึกในศาลพระพนรัตที่วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกมาให้อ่านบางส่วน "ประวัดิของพระพนรัต วัดป่าแก้วหรือพระมหาเถรคันฉ่อง ท่านเป็นพระสงฆ์ชาวมอญแห่งเมืองแครง มีความรรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม มีความชำนาญในศิลปวิทยาต่างๆ เป็นที่เคารพของชาวมอญ ชาวหงสาวดีและชาวไทย มีชีวิตอยู่เมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว เป็นอาจารย์ของพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดีและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ทรงไปเป็นองค์ประกันที่เมืองหงสาวดี เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้ว พระมหาเถรคันฉ่องได้ย้ายมาอยู่เมืองงแครงอันเป็นถิ่นกำเนิด ต่อมาในปี พ.ศ.2127 ได้เกลี้ยกล่อมให้พระยาเกียรติ และพระยารามที่ได้รับคำสั่งจากพระเจ้านันทบุเรงให้มาปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวร ให้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์ดำ จนทำให้สมเด็จพระนเรศวรรอดพระชนม์ชีพได้ และประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และท่านได้ย้ายมาอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระพนรัตพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี สถิต ณ วัดเจ้าพระยาไทย หรือวัดป่าแก้ว ปัจจุบันคือวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเชื่อว่าท่านเป็นผู้นิพนธ์บทชัยมงคลคาถาหรือบทพาหุงมหากา ถวายสมเด็จพระนเรศวร เพื่อสวดในคราวทำสงครามก็ได้รับชัยชนะทุกครั้ง" ถือได้ว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติเราท่านหนึ่ง







วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง

"พระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง" จังหวัดสุพรรณบุรี วัดบ้านกร่างเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าพระกรุบ้านกร่างนี้สร้างในสมัยพระนเรศวรมหาราช ตอนตั้งทัพที่เมืองสุพรรณบุรีเพื่อแจกจ่ายแก่ทหาร ให้เป็นขวัญกำลังใจในการทำศึกสงคราม หลังจากได้รับชัยชนะจากการทำศึก เหล่าทหารจะนำพระกลับมาคืนไว้ที่วัดตามเดิมแล้วสร้างเจดีย์บรรจุไว้ ด้วยมีคติความเชื่อที่ว่า "พระต้องอยู่วัด" พระเหล่านี้จึงตกทอดมาถึงคนรุ่นหลัง สาเหตุที่สันนิษฐานว่าพระกรุนี้สร้างไว้ในสมัยพระนเรศวร ก็เพราะมีพระอยู่พิมพ์หนึ่งคือ "พระขุนแผนอกใหญ่" (ที่ลงในวันนี้) เหมือน "พระขุนแผนเคลือบ" ของวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยา ที่ท่านสร้างไว้หลังได้รับชัยชนะจากการทำยุทธหัตถี (คำว่าพระขุนแผนนั้นคนรุ่นหลังมาตั้งกันเอง ความจริงพระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกบ้านเกิดของท่าน) พระขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่นี้ เป็นพระเนื้อดินดิบผสมว่านด้านหลังจะเป็นคลื่นลักษณะเป็นรอยกด คล้ายด้านหลังของพระขุนแผนเคลือบ วัดใหญ่ชัยมงคล ด้านพุทธคุณเป็นเลิศทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม



วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่

วันนี้จะขอคัดลอกคำจารึกบนแผ่นลานทองบางส่วน เกี่ยวกับการสร้างพระผงสุพรรณมาให้อ่านความว่า "ศุภมัสดุ ๑๒๖๕ สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ว่าฤๅษีทั้งสี่ตนพระฤๅษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณเป็นต้น คือบรมกษัตริย์ พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นผู้มีศรัทธา พระฤๅษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแด่ว่านทั้งหลาย พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตร คือเป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่างๆ มีอนุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม ถ้าผู้ใดพบเห็นให้รับเอาไปไว้สักการบูชาเป็นของวิเศษ แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ อาจคุ้มครองภยันตรายได้ทั้งปวง เอาพระลงสรงน้ำมันหอม แล้วนั่งบริกรรม พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ๑๐๘ จบพาหุง ๑๓ จบ ใส่ขันสัมฤทธิ์ นั่งอธิฐานเอาความปรารถนาเถิด ให้ทาทั้งหน้าและผม คอ หน้าอก ถ้าจะใช้ทางเมตตา ให้มีสง่า เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรง ให้เอาพระไว้ในน้ำมันหอมเสกด้วยคาถานวหรคุณ ๑๓ จบ พาหุง ๑๓ จบ พระพุทธคุณณ ๑๓ จบ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียนทำพิธีในวันเสาร์ น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอ ทาริมฝีปาก หน้าผากและผม ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้ พระว่านก็ดี พระเกษรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี อย่าประมาทเลย อนุภาพพระทั้ง ๓ อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถา ทเยสันตา พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จนจบ พาหุงไปจนจบแล้วให้ว่าดังนี้อีก กะเตสิกเก กะระณังมหา ไชยังมังคะ สังนะมะพะทะ แล้วให้ว่า กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะทะ ประสิทธิแล" พระผงสุพรรณเป็นที่เลี่องชื่อในเรื่องพุทธคุณ จึงได้ถูกจัดไว้ให้เป็น ๑ ใน ๕ ของพระชุด เบญจภาคี ที่หลายท่านใฝ่ฝัน