วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

พระกรุวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) กทม. พิมพ์กลีบบัว ฐานผ้าทิพย์ ตำราว่า สร้างในสมัยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) พุทธศิลปเป็นแบบอยุธยา แตกกรุจากเจดีย์ในบริเวณวัดอยู่หลายครั้ง แตกกรุครั้งแรกไม่ได้ระบุปี พ.ศ. แตกกรุครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ และ ป๊ พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๔๘๓ รวมพระที่เจอทั้งหมด ห้าหมื่นกว่าองค์ เนื้อพระเป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก เหมือนพระสมเด็จวัดระฆัง แต่ไม่มีมวลสารในเนื้อพระ หรือมีน้อยมาก ต่างจากพระวัดระฆังของท่านสมเด็จโต ผิวพระคล้ายถั่วลิสงคั่ว เนื้อพระแตกลายงาสวยงาม เรื่องพุทธคุณเด่นมากด้านคงกระพัน ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเจอในท้องตลาดแลกเปลี่ยนแล้ว.










 

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันนี้วันที่ 17 เมษายน 2567 ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่านสมเด็จโต จึงขอนำพระหล่อเนื้อสัมฤทธิ์รูปเหมือนของท่านสมเด็จโต มาให้ชม มีหน้าตัก 5 นิ้วใต้ฐานฝังพระสมเด็จไว้ 5 องค์ พระองค์์นี้เป็นพระเก่าแต่ไม่ทราบว่าจะทันท่านสมเด็จโตหรือไม่ ที่สังฆาฏิขององค์พระมีรอยจารเต็มตั้งแต่ด้านหน้าจรดด้านหลัง.


 







วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567

พระสมเด็จพิมพ์หกชั้นอกตลอด วัดไชโยวรวิหาร คำว่าอกตลอดหมายถึงหน้าอก และท้องเป็นร่องยาวตลอดถึงฝ่ามือ จึงเรียกกันสั้นๆว่าอกตลอด พระพิมพ์หกชั้นอกตลอดที่พบมีอยู่หลายแม่พิมพ์ ข้อมูลจากหนังสือ"สมเด็จโต" หรือบันทึกหลวงปู่คำว่าพระพิมพ์หกชั้นมีทั้งหมด ๙ พิมพ์แบ่งเป็นพิมพ์ ใหญ่ กลาง และเล็ก อย่างละ ๓ พิมพ์ พระพิมพ์นี้สร้างคร้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ขณะนั้นท่านยังเป็นพระลูกวัดธรรมดา และได้สร้างต่อเนื่องอีกหลายวาระ พระพิมพ์นี้ช่างทำโบสถ์จังหวัดอ่างทอง เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย สำหรับพระองค์นี้เป็นพระเนื้อผงผสมข้าวสุก และมวลสารหลักต่างๆ ใช้น้ำอ้อยเคี่ยว และยางไม้เป็นตัวประสานเนื้อพระ.