วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกผายเอวผาย "อ.พน นิลผึ้ง" ยกให้เป็นพิมพ์ที่นิยมสูงสุดของพระสมเด็จวัดระฆัง แม่พิมพ์แกะโดยหลวงวิจารณ์ เจียรนัย ได้แรงบันดาลใจจากพระสุโขทัยยุคกลาง เส้นซุ้มใหญ่แบบเส้นหวายผ่าซีก พระองค์นี้มีสภาพสมบูรณ์มาก ที่ผ่านมาจะไม่ค่อยได้นำพระสภาพนี้มาให้ชม เพราะกลัวคนดูจะไม่เข้าใจ แต่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจกันมากขึ้น เพราะมีข้อมูลหลากหลายให้เลือกค้นคว้าศึกษาตามชอบ จึงนำพระที่ถือว่าดูยากมาให้ชม.






 

พระเนื้อผงพิมพ์หลวงพ่อโตวัดบางกระทิง หลังหูไห พระชุดนี้เป็นพระยุคต้นที่ท่านสมเด็จโตได้สร้างไว้ก่อนทำพระทรงชิ้นฟัก เป็นเนื้อข้าวสุกผสมผงและเกสรดอกไม้ ใช้นำ้อ้อยเคี่ยวและยางไม้เป็นตัวประสาน เนื้อจัด พระพิมพ์นี้เนื้อดินท่านก็ได้สร้างไว้เช่นกัน.





 

รูปเหมือนท่านสมเด็จโต เนื้อหินจุยเจีย สร้างปี พ.ศ.๒๔๑๑





 

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์ แต่ยุคท่านสมเด็จโตจะเรียก "พิมพ์พระประธาน" พระองค์นี้เป็นพระยุคปลาย เกศเล็กยาวยันซุ้มผ่าหวาย ใบหน้าคล้ายเม็ดพริกไทย มีหูเป็นติ่งเล็กๆสองข้าง ที่หน้าอกเห็นรอยสังฆาฏิ ยาวจรดหน้าท้องทำให้ดูคล้ายท้องร่อง หัวเข่าสองข้างยกนิดๆ หน้าตักตรง เห็นร่องเท้าซ้อนกัน ฐานบนเป็นฐานหมอน ฐานกลางเป็นฐานขาโต๊ะ ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดานตัดเฉียง เนื้อผงผสมปูนเปลือกหอย ใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน มีคราบแคลไซต์ปรกคลุมค่อนข้างหนา.







 

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

พระกริ่งปวเรศสร้างไว้ปี พ.ศ.๒๔๑๖




 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เส้นด้าย ในอดีตวงการพระเครื่องบอกว่าพระพิมพ์เส้นด้ายของวัดระฆังไม่มี มีที่กรุวัดบางขุนพรหมเท่านั้น แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าของวัดระฆังได้สร้างมาก่อน จากบันทึกของหลวงปู่คำว่า "พระพิมพ์เส้นด้ายมี ๑๕ พิมพ์ (ที่แตกไม่นับ) ทุกส่วนต้องเหมือนเส้นด้ายเว้นใบหน้า และลำตัว พระพิมพ์เส้นด้ายมีคนแกะให้หลายพิมพ์บางครั้งพิมพ์เล็กบ้างบางครั้งพิมพ์ใหญ่ไปบ้าง แต่จะใหญ่ก็ไม่เกินข้างละก้านไม้ขีด พระพิมพ์เส้นด้ายพิมพ์มากเป็นที่ ๓ ของพิมพ์ทั้งหมดของท่านโต และองค์พระจะตื้นบาง พิมพ์ลึกๆก็มีบ้าง พระพิมพ์เส้นด้ายบางพิมพ์ก็สวย คนแกะพระพิมพ์นี้มีตั้งแต่ช่างสิบหมู่จนถึงหลวงวิจาร มีทั้งพิมพ์สวยและไม่สวย พิมพ์ตื้นและพิมพ์ลึกมีหลายพิมพ์ด้วยกัน" สำหรับพระที่ลงในวันนี้เป็นพิมพ์ของหลวงวิจาร ที่ยังมีสภาพสวยสมบูรณ์.








 

พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์เม็ดกรุวัดบางขุนพรหม.





 

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563

พระขุนแผนเนื้อผงพุทธคุณ พิมพ์ทรงคล้ายขุนแผนห้าเหลี่ยมกรุบ้านกร่าง ตามประวัติว่าพระล้อพิมพ์โบราณ เป็นพระยุคแรกๆที่ท่านสร้างก่อนพระพิมพ์สมเด็จ ซึ่งน่าจะเป็นพระชุดกรุทัพข้าวที่มีอยู่หลายพิมพ์ และอีกตำราว่าลูกศิษย์ที่มาเรียนพระเปรียญธรรมเมื่อเรียนจบ จะขอเนื้อผงทำพระจากท่านมากดพิมพ์พระโดยเอาแม่พิมพ์พระ ที่จังหวัดตัวเองนิยมมาทำ อย่างเช่นพระที่ลงในวันนี้ หลวงปู่คำบันทึกไว้ว่า "พระพิมพ์นี้พระครูบุญส่งเป็นผู้เอาแม่พิมพ์มาจากพิมพ์ขุนแผนบ้านกร่างสุพรรณบุรีที่มาเรียนพระเปรียญธรรมที่วัดระฆังกับท่านโต และได้ขออนุญาตเอาผงที่ปลุกเสกเรียบร้อยแล้วมากดพิมพ์ขุนแผน เพื่อจะเอาไปแจกญาติโยมที่จังหวัดสุพรรณ แต่กดพิมพ์ได้ไม่เท่าไหร่แม่พิมพ์ก็แตก พระพิมพ์นี้ทหารในวังได้ขอไป ๑๐๐ กว่าองค์ และให้แต่พวกแม่ค้าขายของเท่านั้น และบอกว่าถ้ามีไม่ต้องมาหานะ แต่ถ้าจนก็มาหาใหม่ ปรากฏว่าเมื่อได้รับไปแล้วทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองดี เป็นที่ต้องการของแม่ค้าทั้งหลาย เป็นพระเมตตามหานิยมทำมาค้าขายดี" สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ จึงพอสรุปได้ว่าพระล้อพิมพ์โบราณมีสร้างยุคต้นก่อนพิมพ์พระสมเด็จที่นิยม เนื้อจัดแก่ข้าวสุก และยังมีสร้างต่อมาในภายหลังอีกซึ่งความเก่าของเนื้อหาจะแตกต่างกัน.









 

พระขุนแผนกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย เท่าที่ค้นข้อมูลได้พระในกรุมีสองยุค คือพระชุดแรกที่สร้างในสมัยสุโขทัยเป็นเนื้อดินผสมผง และพระยุคสองเป็นพระเนื้อผงพุทธคุณสร้างต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าใจว่าท่านสมเด็จโตสร้างบรรจุไว้ เช่นพระที่ลงให้ชมในวันนี้ เป็นพระเนื้อผงผสมข้าวสุก เกสรดอกไม้ต่างๆ ใช้น้ำอ้อยเคี่ยวและยางไม้เป็นตัวประสาน แคลไซต์น้อยมากเพราะเนื้อพื้นหลักคือข้าวสุก ไม่ใช่เปลือกหอย พระชุดนี้น่าจะเป็นพระยุคต้นๆที่ท่านสร้าง ช่วงที่ผ่านมาการพิจารณาเนื้อต้องอาศัยกึ่งเดาว่ามวลสารที่เห็นเล็กๆเท่าปลายเข็มคืออะไร แต่ปัจจุบันเราสามารถขยายดูได้ไม่ยาก จึงค่อนข้างมั่นใจว่าพระชุดนี้ท่านสมเด็จโตได้สร้างไว้ (ชุดเนื้อผงพุทธคุณ) เพราะมีมวลสารเหมือนในพระสมเด็จทั่วไป.