วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระกริ่งปวเรศสายหน้าจีน ปี ๒๓๙๔ มีโค๊ตที่เข่า ใต้ฐานจารยันต์พุฒซ้อน ตัวอังอยู่ด้านบน ข้างซ้ายจารตัว นะ และ อุ ส่วนด้านขวาไม่ชัด ดูคล้ายยันต์ เฑาะ ทั้งหมดจารแผ่วบางไม่ค่อยชัด




 

พระสมเด็จวัดระฆ้ง พิมพ์ทรงเจดีย์ พระองค์นี้เป็นพระยุคกลางเนื้อผงผสมข้าวสุก และมวลสารหลักต่างๆ ใช้น้ำอ้อยเคี่ยว และยางไม้เป็นตัวประสาน ตามปกติพระพิมพ์ทรงเจดีย์ จะตัดกรอบสอบขึ้น คือด้านฐานจะกว้างกว่าด้านบน (ตามเส้นกรอบ) แต่พระองค์นี้ตัดตรงไม่ตัดสอบ เลยทำให้เห็นกรอบชัดเจน ส่วนด้านหลังเป็นหลังกระดาน มีรอยปริริมขอบข้างลึก ที่ถูกสอนต่อๆกันมาว่า ด้านหลังพระสมเด็จวัดระฆัง ต้องปริขอบข้างถึงจะแท้ แต่ความจริงไม่จำเป็น พระแท้ที่ไม่ปริก็มีมากมาย เพราะเนื้อหามวลสาร การผสมแต่ละครั้งก็แตกต่างกัน ไม่ใช่ของผลิตจากโรงงาน ที่ต้องได้มาตราฐานของทุกชิ้นต้องเหมือนกัน สำหรับพระที่ลงวันนี้จัดว่าเป็นพระที่ดูง่ายองค์หนึ่ง.







 

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์พิเศษ ปี ๒๓๙๔ ไม่แต่งพิมพ์ ที่หัวเข่ามีโค๊ต.





 

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ กรอบนอกเป็นภาพระฆัง (ซุ้มระฆัง) กลางองค์พระเป็นซุ้มสี่เหลี่ยม ลักษณะคล้ายประตูมีฐานสองชั้นคล้ายบันได องค์พระพุทธปางสมาธิอยู่ด้านบน องค์พระสงฆ์อยู่ด้านล่าง นั่งบนฐานในพื้นสี่เหลี่ยม พระองค์นี้เป็นพระยุคกลาง ยังใช้น้ำอ้อยเคี่ยว และน้ำผึ้งเป็นตัวประสาน พระจึงแตกราน พยายามลงพระที่ท่านสมเด็จโตสร้าง หรืออธิฐานจิตไว้ มาให้ชมในหลายๆรูปแบบ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจครับ.






 

พระกริ่งตระกูลปวเรศ สายหน้าจีน ปี ๒๓๙๔ (หัวเข่ามีโค๊ต)






 

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ พระองค์นี้เก็บไว้อยู่ในสภาพสวยสมบูรณ์ ไม่เคยผ่านการใช้มาก่อน เป็นพระยุคปลายฝีมือช่างหลวง น่าจะเป็นงานของหลวงสิทธิ์ เส้นซุ้มใหญ่สวยงาม ใบโพธิ์ด้านซ้ายมือองค์พระมีใบโพธิ์ ๘ ใบ ส่วนด้านขวามี ๙ ใบ เนื้อผง ผสมข้าวสุก และปูนเปลือกหอย พระสภาพนี้ดูเหมือนพระใหม่ แต่เมื่อพิจรณาให้ดี หรือคนที่มีความชำนาญ จะมองออกว่าเป็นพระเก่า สภาพสมบูรณ์เหมือนพระใหม่.








 

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระปางลีลาเนื้อผงพุทธคุณ ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว พระองค์นี้ได้มาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว ยังไม่เคยนำมาลงให้ชม ต้องถือเป็นพระนอกพิมพ์เพราะพิมพ์ต่างจากพิมพ์ลีลาซุ้มสองชั้น หรือพิมพ์หนังตะลุงเล็กน้อย เนื้อผงออกสีเขียวไข่กา องค์พระแกะได้ประณีตงดงาม แม้แต่เม็ดไข่ปลารอบซุ้มเล็กๆ ช่างก็พยามยามแกะเป็นรูปดอกไม้ กดติดบ้างไม่ติดบ้าง แสดงถึงความตั้งใจของช่างอย่างสูง ด้านหลังองค์พระมียันต์เฑาะ ตามผิวพระมีคราบคล้ายคราบกรุ ท่านคงทำแล้วบรรจุหรือเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ใช่พระที่ทำแจกทั่วไป พระองค์จริงเนื้องามมาก.





 

พระกริ่งจีนพิมพ์ห่มคลุม ที่สั่งนำเข้าในช่วงรัชกาลที่ ๓ ที่พบเห็นมีอยู่หลายพิมพ์.





 

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระกริ่งตระกูลปวเรศ สายหน้าจีน ปี ๒๓๙๔ (ไม่มีโค๊ตที่หัวเข่า)







 

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิกรุเก่า ทองทับกรุคือหลังจากพระขึ้นมาจากกรุ เจ้าของเดิมได้นำทองคำเปลวมาปิดซึ่งไม่ได้ปิดในยุคปัจจุบัน ทองมีอายุพอสมควรแล้ว ถ้าปิดทองมาแต่เดิมก่อนบรรจุกรุ จะเรียก "กรุทับทอง" เพราะขี้กรุจะทับอยู่บนทอง ทองที่ปิดมาก่อนบรรจุกรุมีสองแบบคือ ปิดแบบทั่วไปธรรมดา และปิดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม เคยถามท่าน อ.พน นิลผึ้ง ว่าทำไมถึงมีการปิดเป็นรูปสามเหลี่ยม ท่านว่า "เพื่อให้รู้ว่าพระองค์นั้นเป็นของวัดระฆัง" ซึ่งพระที่ปิดทองรูปสามเหลี่ยมนี้จะหายาก นักสะสมรุ่นเก่าชอบนักแต่หาพระไม่ได้ สำหรับพระองค์นี้จะเป็นพระที่อยู่ชั้นล่างๆ แต่ไม่ใช่ล่างสุด เป็นพระดูง่าย มีการระเบิดของเนื้อบางจุด มีคราบดินขี้เป็ด และคราบฟองเต้าหู้อันเกิดจากปูนขาว ที่โรยพื้นไว้ก่อนนำพระบรรจุ เมื่อเกิดน้ำท่วมเจดีย์ปูนเหล่านี้จะละลายน้ำ พอน้ำแห้ง ปูนก็จะมาจับที่องค์พระ เป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนนับครั้งไม่ถ้วน พระที่อยู่ชั้นล่างสุดก็จะจับตัวกันเป็นก้อน ชั้นถัดขึ้นมาก็จะมีสภาพเช่นพระองค์ที่ลงให้ชมในวันนี้ ถ้าแบ่งพระกรุนี้เป็น ๕ ชั้น พระองค์นี้ก็น่าจะอยู่ประมาณชั้นที่ ๔ ครับ.