วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อกังไส

พระองค์นี้เป็นพระเนื้อละเอียดแกร่ง หลายท่านเรียกพระเนื้อนี้ว่า "เนื้อปูนเพชร" คำว่า "ปูนเพชร" หมายถึงปูนชนิดหนึ่ง ทําด้วยปูนขาวผสมทรายละเอียด นํ้ากาวหนัง และนํ้าเชื้อนํ้าตาล ใช้ปั้นรูปต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ลายกระหนก หัวนาค (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒) ปูนเพชรนี้ช่างที่่จังหวัดเพชรบุรีใช้กันมานมนาน แต่สำหรับพระองค์นี้ น่าจะเป็นส่วนผสมของดินที่นำมาจากเมือง "อันฮุย" ประเทศจีนมากกว่า ไม่ใช่ปูนเพชร เพราะดินนี้สมัยรัชกาลที่๔ ท่านได้สั่งเข้ามาเพื่อทำชามเบญจรงค์ จะให้เข้าใจง่ายก็คือดิน "พอร์ซเลน" ที่มาทำเซรามิค ทางวังหน้าก็ได้นำดินนี้มาสร้างพระเช่นกัน (วังหน้าได้รับมอบหมายให้ผลิตถ้วยชามเบญจรงค์ แทนการนำเข้าจากจีน) เมื่อผู้เขียนใช้กล้องขยายกำลังสูงขยายดูเนื้อพระองค์นี้ ก็ไม่พบส่วนผสมของทรายแต่อย่างใด เพราะปูนเพชรจะมีทรายละเอียดผสมอยู่ จึงแน่ใจว่าพระเนื้อลักษณะนี้น่าจะเป็นดินจากเมือง "อันฮุย" มากกว่า ปูนเพชร เลยนำมาเล่าสู่กันฟังไว้เป็นข้อมูล.





พระรอดพิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

เช้านี้นำพระรอดกรุวัดมหาวันมาให้ชมอีก ๑ องค์ เป็นพระรอดที่สร้างในยุคสมัยพระนางจามเทวี มีอายุประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๓๐๐ ปี พระรอดเป็นพระที่มีขนาดเล็ก แต่มีความงามในเชิงช่างสูงมาก สามารถแกะพิมพ์ต้นแบบได้ละเอียด งดงาม ทั้งๆที่ยังไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยแบบในยุคประจุบัน แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ และความสามารถอย่างสูง ของคนในยุคนั้น นอกจากมีรูปทรงที่สวยงามแล้ว ยังเปลี่ยมไปด้วยพุทธคุณ ซึ่งมีผู้คนจำนวนมากได้ประสบมา อย่างนี้ถือว่า "งามนอกและงามใน"






วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จเนิ้อดิน ของท่านสมเด็จโต วัดระฆัง

พระสมเด็จองค์นี้เป็นเนื้อดิน พิมพ์เล็ก ที่เรียกพิมพ์เล็กเพราะมีขนาดเท่าพระคะแนน แต่พระคะแนนของท่านสมเด็จโตนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์ธรรมดาข้างละก้านไม้ขีดเรียกคะแนนร้อย ส่วนคะแนนพันก็จะใหญ่กว่าคะแนนร้อยข้างละก้านไม้ขีด คะแนนหมื่นจะใหญ่กว่าคะแนนพันข้างละก้านไม้ขีด ข้อมูลนี้จากบันทึกของ "หลวงปู่คำ" พระองค์นี้ท่านตั้งใจทำให้เล็ก อาจไว้แจกเด็ก และผู้หญิงก็เป็นได้ พระเนื้อดินนั้นทำยากกว่าเนื้อผงซึ่งเคยอธิบายไว้แล้ว การใส่ผงพุทธคุณในเนื้อดินนั้นมี ๒ แบบคือผสมมวลสารและผงพุทธคุณลงไปในเนื้อเลย และการโรยผงพุทธคุณไว้ด้านหลังแล้วนำดินมาปิดทับอีกครั้ง ด้านหลังจะนูน พระองค์นี้เป็นแบบที่ ๒ คือโรยผงพุทธคุณไว้ด้านหลังแล้วประกบด้วยดินอีกครั้ง ขณะที่เผาท่านสมเด็จโตจะว่าคาถาแล้วซัดน้ำว่านลงบนองค์พระ เนื้อพระจะเกิดจ้ำสีน้ำตาลเข้มบนผิวพระ (หลวงปู่คำบันทึกไว้เช่นนั้นแล)



วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ พระองค์นี้เป็นพระเก่าเก็บ หลังกดพิมพ์เมื่อพระแห้งดีแล้ว ได้นำน้ำว่านเคลือบทับอีกชั้นเพื่อเพิ่มคุณวิเศษ (เป็นความเชื่อ) และเป็นการรักษาเนื้อพระไปในตัว ส่วนใหญ่จะใช้ยางไม้หรือรัก บางคนใช้เทือกทา บางคนใช้ลงสีเหลืองทา ใช้เทียนเคลือบพระทั้งองค์ก็มี แลัวแต่ว่าใครจะหาวิธีไหนเพราะสมัยนั้นยังไม่มี การเลี่ยมพระ จึงหาวิธีต่างๆที่จะรักษาเนื้อพระไว้ ก็เป็นเสน่ห์ของพระเก่าอีกแบบหนึ่ง.




พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์ พระองค์นี้เป็นพระยุคกลางยังใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสานเนื้อพระ เนื้อพระเป็นเนื้อแก่ข้าวสุกผสมผงดูหนึกเหนียว ช่างสิบหมู่เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย



วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

พระพิมพ์เส้นด้ายกรุเก่าวัดบางขุนพรหม

พระพิมพ์เส้นด้ายกรุเก่าวัดบางขุนพรหม พระพิมพ์เส้นด้ายนี้มีทั้งของวัดระฆังและบางขุนพรหม ในบันทึกหลวงปู่คำว่า มีทั้งหมด ๑๕ พิมพ์ไม่รวมที่แตกหัก เป็นพิมพ์ที่ท่านสมเด็จโตสร้างมากเป็นอันดับสาม ส่วนใหญ่พระจะเป็นพิมพ์ตื้นและบาง ที่พิมพ์ลึกก็มีบ้าง ผู้ที่แกะพิมพ์เส้นด้ายนี้ส่วนใหญ่เป็นช่างสิบหมู่ รวมไปถึงหลวงวิจารณ์ สำหรับพระที่ลงในวันนี้เป็นพิมพ์ตื้น แต่องค์พระหนา เป็นพระแก่ปูนสุกตามสูตรกรุบางขุนพรหม.