วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อกังไส

พระองค์นี้เป็นพระเนื้อละเอียดแกร่ง หลายท่านเรียกพระเนื้อนี้ว่า "เนื้อปูนเพชร" คำว่า "ปูนเพชร" หมายถึงปูนชนิดหนึ่ง ทําด้วยปูนขาวผสมทรายละเอียด นํ้ากาวหนัง และนํ้าเชื้อนํ้าตาล ใช้ปั้นรูปต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ลายกระหนก หัวนาค (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒) ปูนเพชรนี้ช่างที่่จังหวัดเพชรบุรีใช้กันมานมนาน แต่สำหรับพระองค์นี้ น่าจะเป็นส่วนผสมของดินที่นำมาจากเมือง "อันฮุย" ประเทศจีนมากกว่า ไม่ใช่ปูนเพชร เพราะดินนี้สมัยรัชกาลที่๔ ท่านได้สั่งเข้ามาเพื่อทำชามเบญจรงค์ จะให้เข้าใจง่ายก็คือดิน "พอร์ซเลน" ที่มาทำเซรามิค ทางวังหน้าก็ได้นำดินนี้มาสร้างพระเช่นกัน (วังหน้าได้รับมอบหมายให้ผลิตถ้วยชามเบญจรงค์ แทนการนำเข้าจากจีน) เมื่อผู้เขียนใช้กล้องขยายกำลังสูงขยายดูเนื้อพระองค์นี้ ก็ไม่พบส่วนผสมของทรายแต่อย่างใด เพราะปูนเพชรจะมีทรายละเอียดผสมอยู่ จึงแน่ใจว่าพระเนื้อลักษณะนี้น่าจะเป็นดินจากเมือง "อันฮุย" มากกว่า ปูนเพชร เลยนำมาเล่าสู่กันฟังไว้เป็นข้อมูล.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น