วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

พระขุนแผนแตงกวาผ่าซีก กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี ถือเป็นพระกรุที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองสุพรรณบุรี เก่ากว่าพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง ลักษณะเป็นศิลป์อู่ทองปนลพบุรี ประทับอยู่ในซุ้มแบบพระยอดขุนพล ด้านหลังพระอูมยาวคล้ายแตงกวาผ่าซีก ถ้าด้านหลังอูมและทรงกว้างคล้ายรูปไข่จะเรียก "ขุนแผนไข่ผ่าซีก" ซึ่งลายละเอียดของพิมพ์พระเหมือนกัน ต่างกันที่ความกว้างเท่านั้น พระชุดนี้คนที่ชอบดูตำหนิพระ เขาจะดูตราเบนซ์ อยู่ตรงซอกด้านล่างขวามือองค์พระ เป็นเส้นแฉกสามเส้นคล้ายตราของรถเบนซ์ จึงเรียกตำหนิตรงนี้ว่า "ตราเบนซ์"






 

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

พระขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ เป็นพิมพ์นิยมสูงสุดของพระกรุบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีพุทธศิลป์เหมือนกับพระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.อยุธยา พระที่ลงวันนี้เป็นพระที่ผ่านการใช้มาจนผิวเปิด ทำให้เห็นมวลสารต่างๆชัดเจน พระกรุบ้านกร่างจะมีส่วนผสมของแร่ และกรวดค่อนข้างมาก จุดสังเกตอีกจุดของพระกรุนี้คือรอยว่านหลุด มักจะมีรอยว่านหลุดเป็นร่อง หรือหลุม ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆตามผิวพระ ส่วนด้านข้างพระจะตัดเฉียงเล็กน้อย จะไม่ตัดตรงเป็นเส้นตั้งฉาก.









 

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

พระเนื้อดินของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อโหน่งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งในอดีต ที่หลวงพ่อเนียม วัดน้อย บอกกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคศิษย์ของท่านว่า "ถ้าฉันสิ้นแล้ว มีปัญหาธรรมข้อใด ให้ไปถามท่านโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาพอแทนฉันได้" หลวงพ่อโหน่งเป็นชาวสุพรรณบุรี เกิดที่ อ.สองพี่น้อง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ปลายรัชกาลที่ ๔ ท่านอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ ได้รับฉายาว่า "อินทสุวัณโณ" ท่านได้เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานกับ พระอธิการจันทร์ และต่อมาได้มาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี ท่านเป็นศิษย์รุ่นพี่ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระเครื่องที่หลวงพ่อโหน่งสร้างส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผา มีมากมายหลายพิมพ์ พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม และคงกระพัน หลวงพ่อโหน่งมรภาพปี พ.ศ.๒๔๗๗ รวมอายุ ๖๙ ปี พรรษาที่ ๔๕