วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อผงผสมข้าวสุก พระองค์นี้เนื้อแก่ข้าวสุก เนื้อข้าวสุกท่านสมเด็จโตทำไว้สองแบบคือ นำข้าวสุกมาตำเป็นพื้นเลย กับนำข้าวสุกไปตากแดดก่อนแล้วนำมาตำ (ในเนื้อพระจะเห็นเป็นท่อนข้าวเล็กๆผสมอยู่) สำหรับพระองค์นี้เป็นเนื้อข้าวสุกที่นำมาตำเลยไม่ตากแดด.






 

ตะกรุดพอกผงยาวาสนา หรือผงยาจินดามณี ของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว ด้านหน้าเป็นพระปิดตา ด้านหลังจารยันต์เฑาะว์มหาอุดขมวดกลม ส่วนแกนกลางเป็นตะกรุด เป็นของนอกตำราที่ผู้เฒ่ารุ่นคุณปู่สะสมไว้.




 

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ อกวีฐานสามชั้น มีเส้นผ้าทิพย์หนาจึงดูเหมือนมีฐานสี่ชั้น ไม่มีชายจีวรติดแขนซ้านขององค์พระ ถ้าจะเรียกชื่อพิมพ์ตามโบราณ ก็เป็น "พิมพ์พระประธาน" เป็นเนื้อผงผสมข้าวสุกและ แป้งกระแจะจันทร์ (เป็นดินกระแจะที่ปรุงด้วยของหอม เช่น จันทน์แดง จันทน์หอม จันทน์ทนา จันทน์ขาว จันทน์ดำและไม้แก่นจันทน์หอม) พระเนื้อนี้เด่นทางเมตตา ค้าขาย เป็นพระยุคกลาง เนื้อเปราะบาง.







 

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ ฐานเก้าชั้นอกตลอด มีฉัพพรรณรังสีรอบพระเศียรซึ่งในพระสมเด็จทั่วไปเราจะไม่พบ แม่พิมพ์เป็นงานฝีมือช่างหลวงแกะได้สัดส่วนงดงามมาก พระองค์นี้เป็นพระยุคต้นหรือยุคกลาง เพราะยังใช้น้ำอ้อยเคี่ยวและยางไม้เป็นตัวประสานเนื้อ ได้ลงรักน้ำเกลี้ยงมาแต่เดิม (คำว่าฉัพพรรณรังสี คือสีที่แผ่ออกจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๖ สี คือ สีนีละ-สีเขียว สีปีตะ-สีเหลือง สีโรหิตะ-สีแดง สีโอทาตะ-สีขาว สีมัญเชฏฐะ-สีแสด และสีประภัสสร-สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก.)






 

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เบี้ยแก้หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว การสร้างเบี้ยแก้นั้นได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ฮินดู ซึ่งสร้างเบี้ยไว้ป้องกันฟ้าผ่าและกันคุณไสย มนต์ดำต่างๆ เรียกว่า "ภควจั่น" สำหรับคนไทยเรานั้นมีการสร้างเบี้ยมานานแล้ว ไว้สำหรับกันคุณไสย มนต์ดำ แถมด้านคงกระพันและเมตตามหานิยมเพิ่มเข้าไปด้วย ในปัจจุบันเบีัยที่นิยมแสวงหากันมีสองสำนักคือ เบี้ยของหลวงปู่รอดวัดนายโรง และเบี้ยของหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว วันนี้นำเบี้ยเปลือยของหลวงปู่บุญมาให้ชม เบี้ยของท่านส่วนใหญ่จะเป็นเบี้ยที่มีการถักหุ้มตัวเบี้ย เป็นการรักษาตัวเบี้ย และสะดวกกับการใช้งาน เบี้ยที่ไม่ได้ถักจะเรียก "เบี้ยเปลือย" ในปัจจุบันมีจำนวนน้อยหายากกว่า ข้อดีของเบี้ยเปลือยคือ ทำให้เห็นอายุของตะกั่วที่หุ้มเบี้ย และที่สำคัญคือลายมือที่จารอักขระ ถ้าจำลายมือได้ก็จะพิจารณาได้ไม่ยาก เบี้ยตัวนี้เป็นเบี้ยยุคต้นได้ทายางไม้ไว้เป็นการรักษาเบี้ย ถ้าเบี้ยยุคปลายเนื้อตะกั่วจะใกล้เคียงกับเบี้ยของหลวงปู่เพิ่ม แต่ลายมือจะต่างกัน




 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกวี เนื้อผสม พระองค์นี้เป็นพระยุคปลาย คำว่าเนื้อผสมหมายถึงเนื้อพื้นผสมหลายอย่าง หลากสีอยู่ในองค์เดียวกัน ในปัจจุบันมีการพูดถึงดินโป่งและดินอาถรรพ์ต่างๆ ที่ผสมอยู่ในพระสมเด็จ โดยส่วนตัวยอมรับว่ายังแยกไม่ออกว่าดูอย่างไร เห็นแต่ดินโป่งเหลืองเท่านั้นที่ชัดเจน แต่ดินชนิดอื่นยังหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือยังไม่ได้ ว่าถูกต้องจริงๆเพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน เพราะฉะนั้นพระองค์นี้ลงให้ชมและให้พิจารณากันเองครับ.




 

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จสามองค์นี้เป็นพระยุคต้น โดยพิจารณาจากองค์เนื้อผงผสมข้าวสุกเป็นหลัก พระยุคต้นที่พบเนื้อมักแก่ข้าวสุกแบบนี้ และใช้น้ำอ้อยเคียวกับยางไม้เป็นตัวประสาน แม่พิมพ์แกะจากไม้ สำหรับองค์เนื้อหินเขียวกับเนื้อข้าวสุก เป็นแม่พิมพ์เดึยวกัน โดยเนื้อหินเขียวสร้างก่อน แล้วนำแม่พิมพ์มาแต่งให้เส้นซุ้ม และช่วงวงแขนหนาขึ้นเล็กน้อย อาจเป็นการแก้ปัญหาเนื้อติดในร่องแม่พิมพ์เวลากดพระก็เป็นได้.

 

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ (เศียรบาตร) เนื้อผงผสมข้าวสุก ได้ลงพระพิมพ์นี้ติดต่อกันสามเนื้อ คือเนื้อหินเขียว เนื้อว่าน และเนื้อผงผสมข้าวสุก สำหรับพระเนื้อผงนี้ถ้าทางสายกลุ่มเล่นพระสมเด็จกรุวัดยางเห็น ก็ต้องตีเป็นของกรุวัดยาง ซึ่งผมไม่มีข้อมูลของพระกรุนี้ แต่ข้อมูลที่คันได้ พระชุดนี้เป็นของวังหน้า จะเกี่ยวโยงกับกรุวัดยางหรือ มีผู้นำไปบรรจุไว้หรือไม่ ผมไม่มีฃ้อมูล ในสมัยนั้นพระที่ปิดทองร่องชาด จะทำให้เฉพาะราชสำนักเท่านั้น เพราะฉะนั้นพระชุดนี้น่าจะทำให้ราขสำนัก หรือราชสำนักเป็นผู้ทำ ตามที่ได้ค้นข้อมูลมา.






 

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ (เศียรบาตร) เนื้อว่านปิดทองร่องชาด.




 

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ(เศียรบาตร) เนื้อหินเขียว พระเนื้อนี้พบเจอน้อยมากคนส่วนใหญ่จึงไม่รู้จัก จะขอคัดลอกบทความบางส่วนที่เป็นข้อมูล เรื่องพระหินเขียวมาให้อ่านจากหนังสือ "พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯพิมพ์ช่างหลวง" เขียนโดย "มัตตัญญู" กล่าวว่า "พระสมเด็จเขียว (หลักฐานจากคำจารึกหลังพระสมเด็จ) ปี ร.ศ. ๗๗ (๒๔๐๑) ได้หินเขียวที่นำมาจากลังกา เมื่อท่านเจ้าประคุณฯได้รับมา จึงได้สร้างพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเขื่อง เพื่อจารึกด้านหลังในความเป็นมา โดยระบุว่า "สร้างเป็นพระสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อเป็นศิริมงคล" "พระชุดนี้สมัยนั้นเรียกสมญาณามว่า พระหมอ นัยว่าทำน้ำมนต์รักษาโรคได้ผลดีนัก" ขอคัดมาบางส่วนเท่านั้น พอสรุปได้ว่า หินเขียวนี้ได้มาจากประเทศลังกา ในสมัยรัชกาลที่๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๗ ตอนส่งพระธรรมทูตไปลังกาแปดรูป แล้วอัญเชิญพระศรีมหาโพธิมาหกต้น และยังได้ไม้โพธิ์ต้นหน่อเนื้อจากต้นที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มาด้วย ไม้โพธิ์นี้บางส่วนท่านสมเด็จโตได้นำมาบดเป็นมวลสาร ใส่ในพระของท่านด้วย ที่เราเรียกว่าเป็น "ไม้ไก่กุก" นั้นไม่ใช่ ความจริงคือเศษไม้โพธิ์จากต้นโพธิ์ที่กล่าวมา ส่วนท่านสมเด็จโตได้หินเขียวและไม้โพธิ์มาอย่างไรนั้น ไม่มีในบันทึก.




 

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อผงถ่านแม่พิมพ์ผสมผงใบลานเผา เนื้อผงใบลานของท่านสมเด็จโตนั้นมีสองเนื้อ คือผงใบลานสุก (เผาจนเป็นขี้เถ้า) และผงใบลานดิบ (เผาพอไฟลุกโชนแล้วดับไฟ) สำหรับพระองค์นี้เนื้อพื้นเป็นผงถ่านแม่พิมพ์พระที่เผาไฟ ผสมผงใบลานดิบ เนื้อจึงเกิดไขถ้าเป็นเนื้อถ่านแม่พิมพ์ล้วนๆ จะดำเป็นมันไม่มีคราบไข.


 

พระสมเด็จพิมพ์ชายจีวรบาง คือมีชายจีวรเป็นเส้นบางๆอยู่ระหว่างข้อมือกับเข่าด้านซ้ายขององค์พระ ปัจจุบันเรียก"พิมพ์ใหญ่" เนื้อเกษร ๑๐๘ หรือเนื้อผิวมะกอกสุก ของวัดระฆัง เนื้อนี้จะมีส่วนผสมของมวลสารมาก (ตามบันทึกหลวงปู่คำ)