วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

พระรอดพิมพ์ใหญ่กรุวัดมหาวัน พระองค์นี้เป็นพระเนื้อสีผ่าน คือในเนื้อพระจะมีสีมากกว่าสองสีขึ้นไป ไม่มีคราบกรุ พระชุดนี้คาดว่าถูกเก็บไว้อยู่ในภาชนะ ไม่ใช่พระกรุที่ตกอยู่ตามพื้นดิน มีรอยเซี่ยนไม้ตามร่อง และมีแคลไซต์ตามร่องเช่นกัน เนื้อพระแกร่งและดูนุ่มตา จัดเป็นพระรอดที่สมบูรณ์องค์หนึ่ง.









 

พระขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่ เป็นพิมพ์ที่นิยมสูงสุดของพระกรุบ้านกร่าง องค์พระมีพิมพ์ทรงเป็นรูปหน้าเหลี่ยม และมีหน้าอกใหญ่เอวเล็ก จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ "พระขุนแผนพิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่" พระพิมพ์นี้จะมีพุทธศิลป์เหมือนพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัพระนครศรีอยุธยา เป็นศิลปสกุลช่างเดียวกัน สำหรับพระองค์ที่ลงในวันนี้เป็นพระเนื้อค่อนข้างหยาบ มีเม็ดกรวดปนผสมอยู่มาก ผิวส่วนลึกดูนวลตา ส่วนผิวด้านบนดูฉ่ำ เข้าทฤษฎีการดูพระเก่าว่า "นวลอยู่ต่ำ ฉ่ำอยู่สูง"








 

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พระองค์นี้เป็นพระยุคปลายฝีมือช่างหลวง เนื้อหนึกนุ่ม ตามพื้นผนังพระมีแคลไซต์ขึ้นขาวคล้ายคราบแป้งโรยพิมพ์ มีมวลสารหลากหลาย ที่สำคัญคือได้พบชิ้นสะเก็ดดาว (TEKTITE) คนไทยมักนิยมเรียกว่า "อุลกมณี" หรือ "รัตนชาติจากฟากฟ้า" เนื้อจะคล้่ายแก้วสีชา เชื่อกันว่าเป็นแร่หรือหินที่มีพลังเชิงบวก ให้โชคลาภ กันคุณไสย และเชื่อกันว่าท่านสมเด็จโตได้นำมาเป็นมวลสารผสมใส่ในพระของท่านบางวาระ พระองค์นี้อยู่ในสภาพสวยสมบูรณ์และดูง่ายองค์หนึ่ง.










 

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูมยุคปลาย พระองค์นี้เป็นพระเนื้อละเอียดปนหยาบ เห็นมวลสารลอยกระจายอยู่ตามผิวพระ จะเห็นมวลสารที่ผสมอยู่ เช่นผงศิลาธิคุณ เศษพระเก่าแตกหัก และผงพุทธคุณเป็นต้น สภาพพระสวยสมบูรณ์.









 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์ยุคปลาย ฝีมือช่างหลวงปิดทองร่องชาด หลังมีรอยไม้กระดานกด เนื้อหนึกแกร่ง บางท่านเรียก "เนื้อกระดูก" เพราะลักษณะของเนื้อแกร่งคล้ายกระดูก.