วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560
มีคนถามว่าพระของท่านสมเด็จฯโตมีพิมพ์นาคปรกหรือไม่ วันนี้เลยนำมาให้ชม ซึ่งพระองค์นี้ไม่ได้อยู่ที่ผมแล้ว พระองค์นี้ถือเป็นพิมพ์พิเศษ หรือพระนอกพิมพ์ (ที่เล่นกัน) สันนิษฐานว่ากดพิมพ์ในวังเพราะใช้ของมีคมตัดขอบ ถ้ากดพิมพ์ที่วัดระฆังจะใช้ตอกตัด เนื้อหาเป็นแบบวัดระฆัง คือเนื้อผงผสมข้าวสุกมีส่วนผสมของปูนเปลือกหอยไม่มาก ยังใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสาน ลงรักปิดทองมาแต่เดิม โอกาสพบเจอพระพิมพ์นี้ไม่บ่อยนัก
วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560
พระพิมพ์นี้ท่านน่าจะทำถวายร.๔ (ในความคิดของผู้เขียน) เพราะรัชกาลที่๔ท่านมีนามเดิมว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ" ส่วนเนื้อพระเป็นพระยุคกลางคือแก่ข้าวสุกและใช้น้ำอ้อยเคี่ยวเป็นตัวประสาน ฝีมือช่างหลวงแกะพิมพ์ พระได้ลงชาดและปิดเงินเปลว การลงชาดแดงจะทำถวายเฉพาะในวังหรือเชื้อพระวงศ์เท่านั้น ด้านหลังองค์พระมีรอยจารด้วยมือ พระเหล่านี้จะพบเห็นได้ยากมากเป็นของดีมีคุณค่าที่ถูกลืม อย่างน่าเสียดาย
วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560
๒๒ มิถุนายน วันมรณภาพท่านสมเด็จโต
วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560
พระลือเนื้อผงพุทธคุณ พระองค์นี้เป็นพระยุคต้นถึงยุคกลางของท่านสมเด็จฯโต ท่านสร้างไว้ก่อนที่จะได้เป็นสมเด็จฯ พระยุคต้นที่พบเจอมีอยู่หลายเนื้อ ส่วนพระลือองค์นี้เป็นเนื้อผงผสมข้าวสุก ที่ผ่านการกรองมาอย่างดี จึงได้เนื้อพระที่ละเอียดอย่างที่เห็น พระเนื้อกรองลักษณะแบบนี้ เท่าที่พบเจอจะเป็นพระยุคต้นและยุคกลางเสียส่วนใหญ่ ส่วนยุคปลายไม่ค่อยได้พบเจอเนื้อลักษณะนี้
วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ราหูอมจันทร์ หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม ราหูอมจันทร์ของท่าน ส่วนใหญ่จะแกะจากกะลาตาเดียว เป็นทรงรูปเสมา มีหูในตัวและไม่มีหู ในรูปเสมาแกะสลักเป็นรูปราหูอมจันทร์ บริเวณขอบโดยรอบ แกะป็นรูปพญานาค ส่วนลายที่ใต้ราหูนั้นจะแตกต่างกันไป ช่างแกะฝีมือประณีต ส่วนด้านหลังลงเหล็กจาร เป็นอักขระขอมลาว ที่อ่านได้คือ นะ๑๒ โม๒๑ ด้านล่างมีจารตัวพุทธ ใต้ตัวพุทธมีจาร ฤๅ หัวเข้า แต่ถ้าเป็นตัว ฤๅ หัวออกและมีจารใบพัดจะเป็นของหลวงพ่อปิ่นลูกศิษย์ของท่าน อักขระการจารของหลวงพ่อน้อย จะจารตามฤกษ์ในขณะที่เกิดสุริยคราสและ จันทรคราส แล้วท่านจะนำราหูไปปลุกเสกอีกครั้งก่อนที่จะแจกให้แก่ลูกศิษย์ ราหูอมจันทร์หลวงพ่อน้อยเชื่อกันว่า มีพุทธคุณทางด้านป้องกันคุณไสย เสนียดจัญไร และคงกระพันชาตรี มีเมตตามหานิยมในตัว นอกจากราหูที่สร้างจากกะลาตาเดียวแล้ว ยังพบราหูเนื้อเงินและเนื้องา ที่ลงไว้นี้เป็นเนื้องา สำหรับวัดศีรษะทองเป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอนครชัยศรี พื้นที่โดยรอบเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมา ตั้งหลักแหล่งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าอาวาสรูปแรก คือ หลวงพ่อไตร เป็นชาวลาวเวียงจันทน์ ท่านเป็นผู้เริ่มสร้างราหูอมจันทร์ของวัดศีรษะทองเป็นรูปแรก
วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม หลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย พระองค์นี้เป็นพระเก่าเก็บ แทบไม่เคยผ่านการใช้ ลักษณะผิวมีความมันที่เกิดจาก การคลายตัวของน้ำมันตังอิ๊วที่ค่อยๆซึมระเหยออกมาสะสมทีละน้อย จนมีลักษณะคล้ายฟิล์มเคลือผิวพระบางๆอยู่ แต่เมื่อใดได้นำพระมาใช้เป็นประจำ ความมันบนผิวพระนั้นก็จะหายไป ซึ่งฟิล์มที่เคลือบผิวพระอยู่นี้สามารถบอกถึงความสมบูรณ์ของพระองค์นั้นได้
วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560
พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อชินเงิน
วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เส้นด้าย ช่วงที่ผ่านมาทางวงการพระบอกว่าพระพิมพ์เส้นด้ายมีฉะเพราะที่กรุวัดบางขุนพรหมเท่านั้น ของวัดระฆังไม่มี แต่ความเป็นจริงแล้วพระพิมพ์เส้นด้าย ได้สร้างที่วัดระฆังมาก่อนนานแล้ว และมีอยู่หลายแม่พิมพ์แต่ไม่เป็นที่นิยม ซึ่งหลวงปู่คำได้บันทึกไว้ว่า พระพิมพ์เส้นด้ายไม่นิยมทำกันเพราะแม่พิมพ์มีเส้นที่เล็ก เวลากดเนื้อลงไปในแม่พิมพ์เนื้อมักไปอุดในร่องพิมพ์ทำให้แม่พิมพ์ตัน จึงให้ต้องนำแม่พิมพ์ไปล้างบ่ายๆเลยซึ่งไม่สะดวกในการทำจึงไม่เป็นที่นิยม ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้พระพิมพ์เส้นด้ายของวัดระฆังมีจำนวนน้อย พวกพ่อค้ายุคก่อนหาไม่ได้เลยเหมารวมว่า พระพิมพ์เส้นด้ายของวัดระฆังไม่มี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)