วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566
พระหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา วัดบางคลาน จ.พิจิตร เป็นพระหล่อโบราณที่มีอายุราว ๑๓๐ ปี พระพิมพ์ขี้ตาเป็นพระยุคแรกๆที่ท่านสร้าง องค์พระจะดูไม่งดงามสมบูรณ์ เพราะเป็นการหล่อโบราณแบบช่างชาวบ้าน พระองค์นี้มีสีเหลืองด้านเพราะความเก่า ตามผิวมีรูพรุนทั้งรูเล็กและใหญ่ บางส่วนมีเหมือนชิ้นแร่ดำๆติดอยู่ตามผิว อันเกิดจากขั้นตอนการหล่อ บางองค์ก็พบแร่รัตนชาติ บางส่วนก็มีเนื้อเกินเป็นตุ่มเล็กๆ ที่เรียกว่า "เม็ดหูด" เมื่อนำพระมาเข้ากล้องขยายกำลังสูง จะเห็นผิวโลหะมีหลากสี อันเกิดจาก สนิมโลหะหลายชนิดที่ชาวบ้านผู้ศรัทธานำมาใส่ตอนหล่อ สิ่งเหล่านี้คือวิธีที่ส่วนตัวไว้ใช้พิจารณาพระหล่อโบราณ ไม่ได้ดูตำหนิพิมพ์แต่อย่างใด.
วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566
พระปรกโพธิ์เชียงแสน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงไม่ทราบกรุ เชียงแสนเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย มีพระพุทธรูปที่งดงามมากพระพุทธศิลป์สมัยเชียงแสน หรือที่เรียกกันว่า พระเชียงแสน สร้างขึ้นในสมัยพุทะศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ มี ๓ สมัย คือ สิงห์หนึ่ง สิงห์สอง และสิงห์สาม นอกจากพระพุทธรูปอันลือชื่อแล้ว ยังมีพระพิมพ์ขนาดเล็กอีกหลายกรุ หนึ่งในพิมพ์ที่รู้จักกันดีคือ "พระปรกโพธิ์เชียงแสน" องค์พระที่พบเห็นมีปางมารวิชัย และปางสมาธิ เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่มีศิลปงดงามพิมพ์หนึ่ง.
วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เนื้อดินสอเหลือง หรือเนื้อดินโป่งเหลือง ดินโป่งเหลืองถือเป็นดินอาถรรพ์ ที่ท่านสมเด็จโตนำมาทำเป็นแท่งไว้สำหรับเขียนพระเวทย์ ที่เรียกว่า "ดินสอเหลือง" บางส่วนก็นำมาทำเป็นเนื้อพื้นสร้างเป็นพระ เช่นพระที่ลงให้ชมในวันนี้ พระองค์นี้เป็นพระยุคปลายฝีมือช่างหลวง มีคราบแคลไซต์กระจายตามพื้นคล้ายแป้งโรยพิมพ์ สำหรับเนื้อดินสอเหลืองนี้จะเหลืองทั้งด้านนอกและด้านใน ต่างจากเนื้อแก่น้ำมันที่เหลืองเฉพาะที่ผิวด้านนอกเท่านั้น.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)