วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

เบี้ยแก้หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) กทม. ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่จีน วัดท่าลาด พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของท่าน ถูกจัดไว้ให้เป็น ๑ ใน ๕ ชุดพระปิดตาเนื้อผงยอดนิยม ซึ่งมี ๑. หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ๒.หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ ๓. หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ๔.หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว และ ๕. หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ตามประวัติไม่เคยมีข้อมูลว่าท่านได้ทำเบี้ยแก้เอาไว้ แต่เจอเบี้ยแก้ตัวนี้ พอกด้วยผงคลุกรัก ด้านล่างมีพระปิดตาหลวงปู่ไข่ ก็ต้องให้ตีเป็นของหลวงปู่ไข่ ดูจากความแห้งของเนื้อผง และธรรมชาติถึงยุค ก็ต้องเก็บไว้ก่อน เพราะเชื่อว่าแม้ในตำราไม่มี ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านจะไม่ได้สร้าง ธรรมชาติได้ เก่าถึงก็เก็บไว้ค้นหาข้อมูลภายหลัง ถ้าเป็นของปลอมก็ยอมเสียเงินครับ ทำได้ขนาดนี้.






 

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ทรงลังกา เนื้อผงผสมข้าวสุก พระองค์นี้เป็นพระยุคกลางฝีมือช่างหลวง พระพิมพ์ทรงลังกานี้จะพบเห็นไม่บ่อยนัก องค์พระดูล่ำสัน คล้ายพระเชียงแสน เส้นซุ้มใหญ่แบบหวายผ่าซีก ต้นแบบเอามาจากพระพุทธรูปของประเทศลังกา เป็นพิมพ์ที่งดงามพิมพ์หนึ่ง.









 

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2563

พระท่ากระดานเป็นพระที่สร้างในสมัยอู่ทอง ถือเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี ได้ฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เป็น ๑ใน ๕ ของพระชุดยอดขุนพล พุทธคุณเด่นเรื่องแคล้วคลาด คงกระพัน พระท่ากระดานเป็นพระเนื้อชิน แตกกรุออกมาหลายกรุ ทุกกรุเป็นพระยุคเดียวกัน กรุที่มีชื่อคือกรุวัดท่ากระดาน หรือกรุวัดกลาง พระกรุนี้จะลงรักปิดทองสวยงาม และมีกรุวัดเหนือ กรุวัดล่าง ทั้งสามวัดอยู่ในอำเภอศรีสวัสดิ์ บางท่านก็เรียกรวมว่ากรุศรีสวัสดิ์ ปัจจุบันวัดทั้งสามไม่มีแล้ว จมอยู่ใต้น้ำทั้งสามวัด นอกจากสามวัดที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังมีกรุลั่นทม กรุวัดบ้านนาสวน (วัดต้นโพธิ์) กรุวัดหนองบัว กรุวัดท่าเสา และกรุวัดทุ่งลาดหญ้า เป็นต้น.






 

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ "พิมพ์พระแก้วมรกต" พระพิมพ์พระแก้วมรกตนี้ ที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ ส่วนใหญ่เป็นของราชสำนักทำ ไม่ได้สร้างที่วัดระฆัง วิธีสังเกตคือ เนื้อจะละเอียด ตัดขอบด้วยของมีคม ฝีมือช่างหลวงแกะแม่พิมพ์ งานดูเรียบร้อย ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันว่าพระสมเด็จ ไม่ได้สร้างที่วัดระฆังที่เดียว เพราะท่านสมเด็จโตเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทั่วไป ใครมีกำลังและความพร้อมก็จะแกะแม่พิมพ์ แล้วไปขอเนื้อผงจากท่านสมเด็จโตมากดพิมพ์ทำพระกันเอง แล้วนำกลับไปให้ท่านอธิฐานจิตให้ สำหรับแจกจ่ายให้กับคนใกล้ชิด เราจีงพบพระสมเด็จพิมพ์พิเศษอยู่บ่อยครั้ง วันนี้นำพระพิมพ์พิเศษมาให้ชมเป็นตัวอย่างสามองค์ครับ.














 

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ พระองค์นี้ไม่สวยแต่ดูเพลิน.




เพิ่มคำบรรยายภาพ





 

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระองค์นี้เป็นพระยุคปลายฝีมือช่างหลวง เนื้อละเอียด บางท่านเรียก "เนื้อนมค้น" เพราะความเนียน และสีของเนื้อนั้น คล้ายนมค้นหวานนั่นเอง.








 

พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื้อชินเงิน เป็น๑ใน๕ ชุดพระยอดขุนพล พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๐ เรียกว่า "พระกรุเก่า" และพบอีกครั้งปี พ.ศ.๒๕๐๘ บริเวณเจดีย์หน้าพระปรางค์ เรียกกันว่า "พระกรุใหม่" พระทั้งสองกรุพิมพ์ทรงเหมือนกัน ต่างกันที่ผิว พระกรุใหม่ผิวจะดูขาวสะอาดกว่า บางองค์ดูเหมือนพระใหม่ เนื้อพระทั้งสองกรุเมื่อสังเกตดีๆ ที่ผิวพระจะมีเม็ดละเอียดมากแบบตามด ขึ้นกระจายอยู่ตามผิวหน้าหลัง ของเลียนแบบไม่น่าจะทำได้ เป็นจุดสังเกตเบื่องต้นสำหรับดูพระชุดนี้ ในพระพุทธชินราชใบเสมา กรุวัดใหญ่ จ.พิษณุโลก ก็มีเม็ดละเอียดตามด เกิดขึ้นเช่นกันเก็บไว้เป็นหลักพิจารณาเบื่องต้นได้ครับ.