วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิกรุเก่า ทองทับกรุคือหลังจากพระขึ้นมาจากกรุ เจ้าของเดิมได้นำทองคำเปลวมาปิดซึ่งไม่ได้ปิดในยุคปัจจุบัน ทองมีอายุพอสมควรแล้ว ถ้าปิดทองมาแต่เดิมก่อนบรรจุกรุ จะเรียก "กรุทับทอง" เพราะขี้กรุจะทับอยู่บนทอง ทองที่ปิดมาก่อนบรรจุกรุมีสองแบบคือ ปิดแบบทั่วไปธรรมดา และปิดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม เคยถามท่าน อ.พน นิลผึ้ง ว่าทำไมถึงมีการปิดเป็นรูปสามเหลี่ยม ท่านว่า "เพื่อให้รู้ว่าพระองค์นั้นเป็นของวัดระฆัง" ซึ่งพระที่ปิดทองรูปสามเหลี่ยมนี้จะหายาก นักสะสมรุ่นเก่าชอบนักแต่หาพระไม่ได้ สำหรับพระองค์นี้จะเป็นพระที่อยู่ชั้นล่างๆ แต่ไม่ใช่ล่างสุด เป็นพระดูง่าย มีการระเบิดของเนื้อบางจุด มีคราบดินขี้เป็ด และคราบฟองเต้าหู้อันเกิดจากปูนขาว ที่โรยพื้นไว้ก่อนนำพระบรรจุ เมื่อเกิดน้ำท่วมเจดีย์ปูนเหล่านี้จะละลายน้ำ พอน้ำแห้ง ปูนก็จะมาจับที่องค์พระ เป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนนับครั้งไม่ถ้วน พระที่อยู่ชั้นล่างสุดก็จะจับตัวกันเป็นก้อน ชั้นถัดขึ้นมาก็จะมีสภาพเช่นพระองค์ที่ลงให้ชมในวันนี้ ถ้าแบ่งพระกรุนี้เป็น ๕ ชั้น พระองค์นี้ก็น่าจะอยู่ประมาณชั้นที่ ๔ ครับ.







 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น