วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2568
พระหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ เนื้อผงแก่ว่าน ลงรักปิดทองเก่า พระหลวงพ่อแก้วเป็นพระเนื้อผงผสมว่าน ถ้าองค์ไหนเนื้อแก่ผงใส่ลงไปในน้ำจะไม่ลอยน้ำ แต่องค์ไหนแก่ว่าน (เช่นองค์ที่ลงวันนี้) จะลอยน้ำ พระปิดตาของท่านเด่นมากเรื่องเมตตามหานิยม เป็นที่ต้องการหาไว้ครอบครองบูชาติดตัว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เป็นพระเครื่องเนื้อดินผสมผงพุทธคุณ และว่านชนิดต่างๆ เป็นพระกรุที่ได้รับความนิยมและนับถือสูงสุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ขึ้นชื่อเรื่องพุทธคุณอันครบถ้วน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย ค้าขายดี และมหาอำนาจ พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ ไม่ได้เป็นเพียงพระเครื่องที่สวยงาม แต่ยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย.
วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์กลาง หลังแบบ เนื้อแก่ว่าน ลงรักจีนผสมรักน้ำเกลี้ยง พระปิดตาหลวงพ่อแก้วเนื้อนี้พบน้อยกว่าเนื้อกะลา และบางองค์มีฝังตะกรุดทองคำ เช่นองค์นี้มีตะกรุดทองฝังไว้ด้านล่างฐาน ๓ ดอก ได้นำไปตรวจค่าทองคำของตะกรุดตรวจได้ ๖๔.๒๗% ซึ่งค่าทองคำของแต่ละองค์จะไม่เท่ากัน และจำนวนตะกรุดก็มีจำนวนแตกต่างกันไป.
วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
พระสมเด็จพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องวัดเกศ หรือวัดไชโยวรวิหาร ตามบันทึกหลวงปู่คำว่า ช่างทำโบสถ์อ่างทองเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวายในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ และท่านได้ทำพระพิมพ์นี้ในปีเดียวกัน ขณะนั้นท่านอายุย่าง ๒๗ ปี เป็นพระลูกวัดธรรมดา พระพิมพ์หกชั้นมี ๓ พิมพ์คือ ๑. หกชั้นพิมพ์ใหญ่ ๒. หกชั้นพิมพ์กลาง ๓. หกชั้นพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ ๖ ชั้นนี้ ถือเป็นพระยุคต้นของท่านสมเด็จโต ในปัจจุบันพระพิมพ์ ๖ ชั้นอกร่องเป็นหนึ่งในพระพิมพ์นิยมของพระวัดเกศไชโย.
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ เป็นพระประธานปรกโพธ์ฐานสามชั้น มีพระโมคคัลลาน์-สารีบุตร ยืนถือดอกบัวอยู่ ซ้าย-ขวา ด้านหน้ามีเชิงเทียนรูปเรือสุพรรณหงส์ แสดงว่าเชิงเทียนรูปแบบนี้ได้สร้างมานานแล้ว เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์นั้น มีสร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อเรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ สำหรับเรือสุพรรณหงส์ที่เราเห็นในปัจจุบันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทรงสร้างขึ้นใหม่ มาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อทดแทนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำเดิมที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกวี เป็นหนึ่งในพระพิมพ์ยอดนิยมของพระสมเด็จวัดระฆัง โดดเด่นด้วยรูปลักษณ์ที่สง่างาม พุทธคุณเข้มขลัง เป็นที่นิยมของนักสะสมพระเครื่องทั่วไปและผู้ศรัทธา สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่อกวีที่ลงในวันนี้ เป็นพระที่ยังไม่ผ่านการใช้มาก่อนเลย มีคราบแป้งและแคลไซต์กระจายขาวอยู่ทั่วองค์ เนื้อหนึกนุ่ม มีการยุบตัว ม้วนตัวของเส้นซุ้มและแขนดูงามตา.
วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์ พระองค์นี้เป็นพระเก่าเก็บที่ยังไม่ผ่านการใช้มาเลย สภาพคล้ายพระที่ทำขึ้นใหม่ เป็นหนึ่งในพระเครื่องพิมพ์นิยมที่ได้รับความเคารพศรัทธา และมีราคาสูง ประวัติ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์ สร้างขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2407- พ.ศ. 2411) ลักษณะ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์ มีขนาดองค์พระโดยเฉลี่ยประมาณ 2.5 - 3.5 ซม. พุทธคุณ พระสมเด็จวัดระฆัง เชื่อกันว่ามีพุทธคุณครบด้าน แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม โชคลาภ เงินทอง และป้องกันคุณไสย ราคา ราคาของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์ ขึ้นอยู่กับเนื้อหา และความสวยงามขององค์พระ โดยองค์พระที่สวยสมบูรณ์มีราคาสูงถึงหลักล้านบาท สรุป พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์ เป็นพระเครื่องที่ทรงคุณค่าทั้งด้านพุทธคุณและศิลป เหมาะสำหรับการสะสมเพื่อบูชา หรือเป็นมรดกตกทอดให้กับลูกหลาน.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)