วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดบางขุนพรหม

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่องค์นี้ เป็นฝีมือช่างสิบหมู่แกะพิมพ์ เนื้อพระเป็นเนื้อที่แก่ปูนสุกตามสูตรที่ทำบรรจุกรุวัดบางขุนพรหมในยุคนั้น ผิวพระมีคราบสนิมตั้งอิ้วปนกับคราบไขทำให้ดูมีสีสันสวยงาม มวลสารต่างๆจะไม่มากเหมือนของวัดระฆัง แต่มีกระจายให้เห็นอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะผงพุทธคุณ พระองค์นี้ถือว่ามีธรรมชาติที่สวยมากองค์หนึ่ง น่าจะเป็นพระชุดแรกๆที่ออกจากกรุ วัดบางขุนพรหมนั้นเดิมทีมีชื่อว่า "วัดวะรามะตาราม" พอมีถนนตัดผ่านวัดแบ่งเป็น ๒ วัด เรียกว่า "วัดบางขุนพรหมใน"
ส่วน"วัดบางขุนพรหมนอก" ก็คือ"วัดอินทรวิหาร" ในปัจจุบัน  หลวงปู่คำได้บันทึกไว้ว่า"วัดวะรามะตาราม"  เป็นวัดที่ชาวมัญได้สร้างไว้ นายเดชเป็นผู้บูรณะวัดแต่ยังไม่เสร็จได้เสียชีวิตก่อน ต่อมาเสมียรตราด้วงได้มาบูรณะต่อจนเสร็จเรียบร้อย และได้ทำพระสมเด็จมาบรรจุไว้ในปี พ.ศ.๒๔๑๓ การทำพระครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว ที่สมเด็จโตได้นิมนต์พระมา ๙ รูปเพื่อช่วยเบิกพระเนตรเพราะพระมีจำนวนมาก โดยปกติท่านจะทำของท่านรูปเดียว ถ้าจะให้ครบ ๓ รูปก็จะนิมนต์หลวงปู่คำและขรัวตาพลอยเท่านั้น พระทั้ง ๙ รูปที่มาช่วยเบิกพระเนตรในครั้งนั้นมี ๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ๒. พระครูใบฎีกา (หลวงตาพลอย) วัดระฆัง ๓. ปลัดโฮ้ วัดระฆัง ๔. พระราชธรรมวาจา (ท่านจันทร์) วัดทรงประมูล ๕. พระราช (ปู่คำ) วัดอัมรินทร์ ๖. พระครูพิพ้ฒน์ (ท่านเป้ง) วัดลครทำ 

๗. พระเทพกวีศรีสุนทร (ท่านเซ่ง) วัดแจ้งหรือวัดอรุณ ๘. พระธรรมเมธี (รอด) วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ๙. พระธรรมากร (คง) วัดสะแก 
ปัจจุบัน"วัดบางขุนพรหมใน" ใช้ชื่อว่า "วัดใหม่อมตรส"



ในบันทึกหลวงปู่คำว่าการทำพระครั้งนั้นมีผู้คนมาช่วยกันทำจำนวนมากมีทั้งหญิงและชาย ผู้หญิงจะทำได้เรียบร้อยสวยงามกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงจะใช้มีดเจียนหมากตัดขอบพระและลูบสันลบคมให้เรียบร้อย
ส่วนผู้ชายใชัเล็บตัดบ้าง ก้านธูปตัดบ้างแล้วแต่จะหาวัสดุได้ พระที่ทำจึงไม่สวยงามเหมือนผู้หญิงทำ 

ส่วนพระองค์นี้ใข้ของมีคมตัด องค์พระดูสวยงามเรียบร้อย น่าจะเป็นผู้หญิงทำ