วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พิเศษ พระองค์นี้เป็นพระเนื้อว่านผสม ไม่ใช่พิมพ์นิยมเนื้อนิยมที่เขาเล่นกัน แต่เป็นพระที่หายาก จะเป็นพระที่ดูยากสำหรับมือใหม่ แต่ถ้าเข้าใจแล้วก็ไม่ยากนัก พระเนื้อผงของท่านสมเด็จโตท่านจะใช้มวลสาร ส่วนผสมหลักเดิมๆ เปลี่ยนเพียงเนื้อพื้นเท่านั้น ไม่ว่าพระจะเป็นพิมพ์อะไรส่วนผสมหลักก็เหมือนเดิม มีเพียงบางครั้งที่อาจมีมวลสารพิเศษเพิ่มขึ้น เช่นในบางรุ่นจะมีส่วนผสมของอัญมณี หยก ผงทองคำหรือดินเป็นต้น มวลสารที่ท่านใส่ทุกอย่างมีความหมายในตัว จะขอคัดลอกบทความจากหนังสือ "สมเด็จโต" ซึ่งเป็นบันทึกของหลวงปู่คำมาให้อ่านบางส่วน ดินที่ท่านใช้สร้างพระมี ๕ อย่าง คือ ๑. ดินเจ็ดโป่ง ๒.ดินเจ็ดป่า ๓.ดินเจ็ดท่า ๔. ดินเจ็ดสระ ๕. ดินหลักเมืองเจ็ดเมือง (สำหรับความหมายจะอธิบายในภายหลัง) และท่านยังใช้ ตะไคร่เจดีย์ ตะไคร่รอบโบสถ์ ตะไตร่ใบเสมา ส่วนเกสร ว่าน และดอกไม้ที่ท่านใช้นั้นมี ๑. ดอกสวาท ๒.ดอกกาหลง ๓. ดอกรักซ้อน ๔. ดอกกาฝากรัก ๕. ดอกชัยพฤกษ์ ๖.ดอกว่านนางคุ้ม กับดอกว่านนางล้อม ๗. ดอกว่านเสน่จันทร์ จันทร์ขาว จันทร์แดง จันทร์ดำ ๘. ดอกว่านนางกวัก ๙.ว่านพระพุทธเจ้าหลวง ส่วนใบพลูที่ท่านใช้ผสมพระ คือใบพลูร่วมใจและใบพลูสองหาง ที่กล่าวนี้ยังมีส่วนผสมอื่นๆอีก เช่นเศษพระกำแพงเพขรบด ผงใบราน ถ่านแม่พิมพ์เป็นต้น สำหรับพระที่ลงในวันนี้เป็นพระเนื้อว่านผสมหลายชนิด เป็นพระยุคต้น และใช้น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้ง ยางไม้เป็นตัวประสาน น้ำหนักเบา องค์พระเล็กกว่าพิมพ์ทั่วไป เมื่อถ่ายภาพขยายพบคราบแคลไซต์ ปกคลุมจนแทบไม่เห็นเนื้อใน ก็ถ่ายมาได้เท่าที่นำมาให้ชมในวันนี้ครับ.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น