วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์ใหญ่หลังแบบ ลงรักปิดทองเก่า พระของหลวงพ่อแก้วนั้น มีทั้งแบบลงรักไทย และลงรักจีน (ลงรักน้ำเกลี้ยงก็มี) สำหรับพระที่ลงในวันนี้เป็นรักจีน รักจีนเป็นรักน้ำเกลี้ยงผสมชาดจอแส (ชาดผง) จึงมีสีแดง บ้างก็เรียกชาดหรคุณจีน ส่วนไหนที่ทารักหนาสีจะเข้ม ออกดำอมม่วง สีคล้ายลูกหว้าสุก ส่วนไหนทาบางจะออกสีแดง บางครั้งเห็นเป็นจุดแดงๆ ชาดเป็นแร่ชนิดหนึ่งเป็นก้อนสีแดงคล้ายก้อนหิน มีสีแดงเข้มเป็นเงามัน และมีสารปรอทเจือปนอยู่ในเนื้อชาดด้วย ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้สั่งระงับการนำเข้าสินค้าของจีน รวมทั้งรักจีนด้วย เนื่องจากเสียดุลการค้า รักจีนนั้นมีคุณภาพดี และแห้งเร็ว จึงมีการนำรักจีนที่มีตกค้างอยู่มาผสมกับรักไทยใช้ สีจะออกน้ำตาลเข้มอมแดง พระเกจิเก่งๆในยุคร่วมสมัยกับหลวงพ่อแก้ว เช่นหลวงปู่จีน หลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง หลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่ไข่ ยังทันใช้รักจีน ซึ่งถือเป็นของที่หายากในยุคนั้น ด้วยเหตุนี้รักจีนจึงเป็นจุดพิจารณาพระเครื่องเก่ายุคนั้นได้ดี ถ้ารักแห้งดูเก่าได้อายุ และดูเป็นธรรมชาติแล้ว พระองค์นั้นมีโอกาสสูงที่จะเป็นพระแท้ ที่พระเกจิยุคนั้นได้สร้างไว้.









 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น