วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
พระท่ามะปราง หรือ พระเงี้ยวทิ้งปืน เนื้อชินเงิน พระพิมพ์นี้พบครั้งแรกที่ กรุวัดท่ามะปราง จ.พิษณุโลก และต่อมาได้พบอีกหลายกรุ เช่นกรุวัดพระบรมธาตุ กรุวัดเจดีย์ยอดทอง กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดพิกุล เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่๕ ชาวจีนที่ก่อกบฏถูกทางการจีนปราบปราม จึงพากันหนีมารวมตัวกันที่เมืองพรวน เพื่อเตรียมเข้าตียึดเมืองหลวงพระบาง คนเหนือเรียกคนจีนพวกนี้ว่า "ฮ่อ" หรือ "เงี้ยว" ทางการได้เกณฑ์ชาวเมืองพิษณุโลก และอีกหลายเมืองไปช่วยปราบปราม จนได้รับชัยชนะ คนที่ไปรบในครั้งนั้นได้รับแจกพระพิมพ์ จากกรุวัดท่ามะปราง ติดตัวกันคนละองค์ ปรากฏว่าผู้ที่มีพระกรุวัดท่ามะปรางติดตัวนั้น พวกเงี้ยวไม่สามารถทำอันตรายได้ จนพวกเงี้ยวตกใจเกิดความเกรงกลัว ต้องทิ้งอาวุธแตกตื่นหนีเอาตัวรอด และพ่ายแพ้ไปในที่สุด จึงเรียกขานพระชุดนี้ว่า "เงี้ยวทิ้งปืน" ซึ่งเด่นเรื่องคงกระพันมาก พระท่ามะปราง เป็นแบบศิลปสุโขทัย หมวดวัดตะกวน ส่วนใหญ่ที่พบเป็นเนื้อชินเงิน รองลงมาเป็นเนื้อดิน เนื้อว่าน และเนื้อชินสนิมแดง สำหรับเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเนื้อชินเงิน.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น