พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์องค์นี้เป็นฝีมือการแกะพิมพ์ของ"หลวงวิจารณ์ เจียรนัย" ช่างทองหลวงในยุคนั้น และเป็นผู้แกะพิมพ์ที่เราในยุคนี้เรียกกันว่าพิมพ์นิยม พระพิมพ์ปรกโพธิ์นี้เท่าที่ค้นข้อมูลได้ท่านสมเด็จโตจะทำในวาระพิเศษ เช่นทำแจกฉลองพัดยศ และเนื้อที่ทำพระปรกโพธิ์ท่านก็จะแยกเก็บไว้ต่างหากสำหรับทำพระปรกโพธิ์เท่านั้น แต่มีพระอยู่สองพิมพ์ที่ท่านนำผงพระปรกโพธิ์ไปผสมด้วย คือ"พิมพ์ไกเซอร์" ทำถวาย ร.๕ (ที่เราพบกันทั่วไปนั้นไม่ใช่ เป็นพระล้อพิมพ์ไกเซอร์ ซึ่งคนโบราณเรียก"เศียรบาตรอกครุฑ") อีกพิมพ์ที่ท่านนำผงพระปรกโพธิ์ไปผสมคือ"พระสมเด็จแดงกวนอู" ท่านทำแจกเฉพาะทหารที่ไปรบกับเงี้ยวเท่านั้น ส่วนเรื่องใบโพธิ์นั้นเท่าที่พบข้อมูลท่านทำครั้งแรกแจกในงานฉลองพัดยศ ปีพ.ศ.๒๓๘๓ ครองสมณศักดิ์เป็นพระครูปริยัติธรรม อายุ๕๒ปี เป็นโพธิ์๕-๖ คือมีใบโพธิ์๕ใบ๑ข้าง ๖ใบ๑ข้าง ครั้งถัดมาท่านจะเพิ่มใบโพธิ์มากขึ้นครั้งละ ๑ ใบ ส่วนช่างแกะพิมพ์พระปรกโพธิ์นั้นมีหลายคน ช่วงแรกเป็นช่างต่อเรืออู่บางขุนพรหมนอก ถัดมาก็มีหลวงสิทธิ์และนายเจิม วงศ์ช่างหล่อ ช่วงสุดท้ายมีหลวงวิจารณ์มาช่วยแกะพิมพ์เพิ่ม หลังจากที่ท่านได้เป็นสมเด็จแล้ว |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น