วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565

พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดเป็นพระเครื่องอันดับต้นๆของจังหวัดนี้ ที่มีพุทธศิลปงดงาม พุทธคุณเป็นเลิศ หลังจากที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช กระทำสงครามยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชาแล้ว เมื่อกลับมายังกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้สร้าง "พระมหาเจดีใหญ่" ไว้เป็นพุทธบูชา และเป็นอนุสรณ์ในครั้งนั้นที่วัดป่าแก้ว ในขณะเดียวกัน สมเด็จพระพนรัตน์ (พระมหาเถรคันฉ่อง เป็นพระภิกษุชาวมอญ) พระอาจารย์ของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ท่านได้สร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์หลายพิมพ์ แต่ที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันดีคือ "พระขุนแผนเคลือบ" พระกรุนี้ถูกค้นพบในสมัยรัชกาลที่ ๕ และถูกลักลอบขุดกรุเพื่อหาสมบัติอีกหลายครั้ง จนปี พ.ศ.๒๔๗๘ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนกรุวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นโบราณสถานฃองชาติ พระขุนแผนเคลือบ มีรูปทรงห้าเหลี่ยม องค์พระประธานประทับนั่งปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้วโดยรอบ ดูสวยงามลงตัว เข้าใจว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก พระขุนแผนเคลือบแบ่งออกได้ ๓ พิมพ์คือ พิมพ์อกใหญ่ฐานสูง พิมพ์อกใหญ่ฐานเตี้ย และพิมพ์อกเล็ก หรือพิมพ์แขนอ่อน ซึ่งพิมพ์แขนอ่อนนี้มีจำนวนน้อย จึงหายากกว่าพิมพ์อกใหญ่.








 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น