วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

พระท่ามะปราง หรือพระเงี้ยวทิ้งปืน เป็นพระที่พบหลายกรุ หลายจังหวัด แต่ที่พบครั้งแรกคือที่วัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อมีการขุดพบพระพิมพ์เดียวกันนี้อีก ไม่ว่าที่ใดก็จะเรียกชื่อตามกรุแรก และต่อท้ายด้วยสถานที่ ที่พบใหม่เช่น พระท่ามะปราง สุโทัย พระท่ามะปราง กรุวัดเจดีย์สูง พระท่ามะปราง กรุเขาพนมเพลิง หรือพระท่ามะปราง จ.กำแพงเพชร เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาพิชัย (ดิส) เกณฑ์ชาวเมืองพิษณุโลกไปปราบ"ฮ่อ" หรือ "เงี้ยว" จนได้รับชัยชนะกลับมา เรียกการศึกครั้งนั้นว่า "ปราบฮ่อ" ผู้ที่ไปร่วมทัพในครั้งนั้นจะได้รับแจกพระพิมพ์จากวัดท่ามะปราง จ.พิษณุโลก คนละองค์ไว้ติดตัว เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจ เล่าสืบต่อกันมาว่าศึกครั้งนั้นพวกฮ่อไม่สามารถทำอันตรายทหารไทยได้ จนเกิดความเกรงกลัวต้องทิ้งอาวุธ หนีกระเจิงกันหมด จึงเรียกขานกันว่า "เงี้ยวทิ้งปืน" ตั้งแต่บัดนั้น พระท่ามะปราง ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชินเงิน และเนื้อดิน สำหรับพระที่ลงในวันนี้เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เข้าใจว่าเป็นของกรุเขาพนมเพลิง สุโขทัย.









 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น